การขอใบอนุญาตสิทธิการบิน
อากาศยานที่มิใช่เพื่อการเดินอากาศในราชการทหาร ตำรวจ ราชการศุลกากร ราชการกระทรวงเกษตร ของประเทศไทย และอากาศยานต่างประเทศซึ่งจดทะเบียนและมีสัญชาติตามกฎหมายต่างประเทศ แล้ว เมื่อจะนำอากาศยานมาทำการบินเป็นอากาศยานส่วนบุคคลหรืออากาศยานขนส่งได้ จะต้องมีการจดทะเบียนเป็นอากาศยานเครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนไทย เพื่อให้อากาศยานที่จดทะเบียนลำดังกล่าว อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางอากาศภายใต้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการจดทะเบียนอากาศยาน จะดำเนินการเมื่อ
1. นำอากาศยานเข้ามาจดทะเบียนเป็นอากาศยานเครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนไทยเป็นครั้งแรก
2.สำหรับอากาศยานที่มีการจดทะเบียนไทยแล้ว แต่ต้องดำเนินการจดทะเบียนใหม่เนื่องจากใบสำคัญการจดทะเบียนเดิมเป็นอันใช้ไม่ได้ มีกรณีดังต่อไปนี้
มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของอากาศยานนั้นในกรณีที่เจ้าของเป็นผู้จดทะเบียน เช่น มีการซื้อ – ขายอากาศยาน หรือโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่น
ผู้ขอจดทะเบียนเดิมขาดคุณสมบัติ มาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เช่น ในกรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของกรรมการบริษัท ทำให้กรรมการส่วนมากไม่มีสัญชาติไทย หรือการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นอันมีผลให้บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 51 ของหุ้นทั้งหมด หรือผู้ขอจดทะเบียนเสียชีวิต
ปรากฏว่าการเป็นเจ้าของ หรือการเป็นผู้มีสิทธิครอบครองของผู้จดทะเบียนอากาศยานนั้น ไม่เป็นไปตามที่แสดงไว้ในการจดทะเบียนว่ามีสิทธิเช่นนั้นในรายการขอจดทะเบียน
ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ สิ้นอายุเกินกว่า 6 เดือน
อากาศยานได้สูญหายไปเป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือนแล้ว
ทั้งนี้ให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนในกรณีที่จดทะเบียนครั้งแรกหรือประสงค์ขอจดทะเบียนใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงทะเบียนใหม่ ส่งหนังสือขอจองทะเบียนอากาศยานให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบรายการทะเบียนอากาศยานไทยที่ได้จดทะเบียนไปแล้วก่อน เพื่อป้องกันปัญหาการยื่นขอใช้เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียนซ้ำกัน
ขั้นตอนการให้บริการ
1. กระบวนการจองทะเบียนอากาศยาน
1.1 รับคำขอจองทะเบียนอากาศยาน
1.2 ตรวจสอบรายการจองทะเบียน
1.3 แจ้งผลการจองทะเบียนให้ผู้ยื่นขอทราบ
2. กระบวนการขออนุญาตจดทะเบียนอากาศยานในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
2.1 รับหนังสือแจ้งขอจดทะเบียนอากาศยาน
2.2 พิจารณาคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการขออนุญาตจดทะเบียนอากาศยานในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและเอกสารประกอบคำขอ
2.3 ดำเนินการขออนุญาตในหลักการจากรัฐมนตรีให้ผู้ยื่นขอจดทะเบียนอากาศยานในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองได้
2.4 รับเรื่องผลการพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นขอจดทะเบียนอากาศยานในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองได้ จากกระทรวงคมนาคม
2.5 กระบวนการจดทะเบียนอากาศยาน
3. กระบวนการจดทะเบียนอากาศยาน
3.1 รับคำขอพร้อมเอกสารจากผู้ขอจดทะเบียน
3.2 พิจารณาคุณสมบัติตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานประกอบการจดทะเบียนและรายการทะเบียน และตรวจสภาพอากาศยาน
3.3 ออกใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยานและรับชำระค่าธรรมเนียม
หลักฐานที่ใช้
คำร้องขอจดทะเบียนอากาศยาน
แบบฟอร์ม
คำร้องขอจดทะเบียนอากาศยาน ระยะเวลาการให้บริการ
-
ค่าธรรมเนียม
-