ในระหว่าง พ.ศ.2418 ถึง พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูปราชการบริหาร โดยให้มีหน่วยราชการรวมด้วยกัน 12 หน่วย แบ่งอำนาจและหน้าที่การบริหาร ดังนี้.
1) กรมมหาดไทย สำหรับบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเมืองลาวประเทศราช โดยเฉพาะกรมโยธาธิการที่จะสถาปนาเป็นกรมขึ้นก็เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า การช่าง ได้แยกย้ายกันอยู่ในกรมต่างๆ ไม่รวมอยู่เป็นหมวดหมู่ด้วยกัน จึงมีประกาศพระบรมราชโองการตั้งกรมโยธาธิการขึ้น เมื่อ ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) ครั้นในปี ร.ศ.109 (พ.ศ.2433) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการโยธาต่างๆ ที่อยู่ในกระทรวงต่างๆ มาตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการขึ้น และรวมกรมโทรเลข ไปรษณีย์ เข้าในกระทรวงโยธาธิการ |
ต่อมา คณะกรรมการราษฎรจึงประกาศพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหา
ประ ชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2475 ผลัดเปลี่ยนเสนาบดีเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และรวมกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีความว่า "ให้เสนาบดีกระทรวงเกษตรกับกระทรวงพาณิชย์เวนคืนตำแหน่งให้รวมกระทรวงเกษตร กับกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ที่เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ยกกรมทะเบียนที่ดิน กรมป่าไม้ กรมราชโลหกิจ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการเวลานี้ไปขึ้น กระทรวงมหาดไทย ให้มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงศาประพัทธ์เป็นเสนาบดี" ใน พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบราชการบริหารขึ้นใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พุทธศักราช 2476 ขึ้นไว้ โดยมีกระทรวงต่างๆ รวม 7 กระทรวง ดังนี้คือ.
ในการนี้มิใช่ว่ากิจการคมนาคมจะหายไป หรือรัฐบาลจะเลิกล้มกิจการคมนาคมตามนามกระทรวงคมนาคม เนื่องจากการจัดการบริหารใหม่ แต่กิจการคมนาคมและการสื่อสารยังอยู่ในกระทรวงเศรษฐการอย่างครบถ้วน คือ การรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลข และการเจ้าท่า ตามการแบ่งส่วนราชการบริหาร กระทรวงเศรษฐการซึ่งแบ่งออกเป็นดังนี้คือ.
1) กรมเลขานุการรัฐมนตรีต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 กำหนดหน้าที่ใน กระทรวงเศรษฐการออกเป็นทบวง คือ
1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโดยเฉพาะหน้าที่ราชการในทบวงพาณิชย์และคมนาคม แยกออกเป็นดังนี้
1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติกระทรวงทบวงกรมแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 กำหนดหน้าที่ ในกระทรวงเศรษฐการ ขึ้นใหม่ โดยยุบเลิกทบวงเกษตรพาณิชย์กับทบวงพาณิชย์และคมนาคม ให้หัวหน้าเศรษฐการมีหน้าที่แยกเป็น
1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรีในพ.ศ. 2484 การคมนาคมก็ได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาเป็นกระทรวงคมนาคมใหม่อีกตามเดิม ตามพระราชบัญญัติกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้.
1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2494 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2494 หน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ได้แบ่งออกเป็นดังนี้ คือ.
1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงคมนาคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม และมีส่วนราชการในสังกัด ดังนี้.
1) สำนักงานรัฐมนตรี
ต่อมาเมื่อได้ตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น ใหม่อีกเมื่อพุทธศักราช 2484 จึงยังหาที่ว่าการ กระทรวงคมนาคมไม่ได้ แต่โดยที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันตรีหลวงโกวิท อภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงต้องอาศัยของอาคารที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข ตำบลบางรัก ในชั้น 2 ด้านเหนือ เป็นที่ทำการกระทรวงไปก่อน เมื่อได้ซ่อมแซมตึกกระทรวงยุติธรรม ตำบลท่าช้างวังหน้า (บริเวณโรงละคร แห่งชาติปัจจุบัน) ซึ่งจะใช้เป็นที่ว่าการกระทรวงคมนาคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ย้ายไปตั้ง ณ สถานที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2484
ต่อมาเมื่อได้พิจารณาเห็นว่าตัวอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น มิได้มีแต่ที่ว่าการกระทรวงโดยเฉพาะ หากมีกรมการขนส่งรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้ว กิจการต่างๆ ของกระทรวงทั้งในด้านการคมนาคมและในด้านการสื่อสาร ได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องขยายส่วนบัญชาการให้กว้างขวางเพื่อให้พอเพียงแก่การ บรรจุจำนวนเจ้าหน้าทึ่เข้าบริหารงานให้เพียงพอรับกับงานของหน่วยขึ้น และกรมการขนส่ง ได้ขยายงานในด้านการขนส่งขึ้นอีกด้วย โดยจัดตั้งกองแผนกขึ้นใหม่จึงเห็นว่าตัวตึกอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคมที่ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าช้างวังหน้านั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นที่ว่าการกระทรวงต่อ ไป จึงได้ดำริที่จะย้ายไปอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี และได้เริ่มลงมือซ่อมแซมไปบ้างแล้ว ยังไม่ทันเสร็จก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีใหม่ และได้มีการพิจารณาเห็นว่าการที่จะย้ายที่ว่าการกระทรวงคมนาคมไปตั้ง ณ บ้านเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ตามที่ดำริไว้ยังไม่สมควร ให้ระงับเสีย จึงได้จัดการสร้างตึกที่ว่าการกระทรวงคมนาคมขึ้นใหม่ ณ ถนนราชดำเนินนอก ตอนระหว่าง ถนนจักรพรรดิพงษ์ กับ ถนนกะออม ซึ่งพลเรือโทหลวงชำนาญ อรรถยุทธ (เอื้อน กุลไกรเวส) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์แทนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2495 ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ร.ศ.1314 เวลา 9.15 น. และสร้างเสร็จเรียบร้อยได้ย้ายมาเปิดเป็นอาคารที่ว่าการกระทรวงคมนาคม ดังที่ปรากฏอยู่ ในปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2497
1) บริหารนโยบาย ขับเคลื่อนและบูรณาการแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
2) ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพรวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตรกรรมการท่องเที่ยว และแก้ไขปัญหาจราจร
3) ยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของระบบราง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยสนับสนุนที่ส่งเสริมการขนส่งทางรางและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
4) กำกับ ดูแลอย่างมีธรรมาภิบาล สร้างความปลอดภัย รวมทั้งปรับปรุงพัฒนาระบบกฎหมายและมาตรฐานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นไปตามหลักสากล
5) ปรับปรุงและพัฒนาระบบให้บริการที่ทันสมัย มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
6) ส่งเสริม และสนับสนุนระบบขนส่งที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับทุกคน ตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
7) บริหารและพัฒนาองค์กร ให้มีสมรรถนะสูง ยืดหยุ่น คล่องตัวมีธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง
ค่านิยมกระทรวงคมนาคม
“I-SMART”
1) Inclusive ระบบขนส่งที่เข้าถึงคนทุกคน
2) Safe,Securityand Sustainable ความปลอดภัยมั่นคง และยั่งยืน
3) Multimodal Transport -การคมนาคมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
4) Approachable -สะดวก
5) Reasonable Price -ราคาสมเหตุสมผล
6) Timelyand Technology-ตรงเวลาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี