การรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

            สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้มีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชน/ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงาน การพัฒนากระบวนงาน และการจัดบริการของส่วนราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างสูงสุด โดยได้ดำเนินการออกเป็นประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เรื่อง มาตรการ กลไกในการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
::  ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เรื่อง มาตรการ กลไกในการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม 2562)
:: รายงานการติดตามการดำเนินการ เรื่อง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมและสำนักงานรัฐมนตรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
:: รายงานการติดตามการดำเนินการ เรื่อง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมและสำนักงานรัฐมนตรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
:: รายงานการติดตามการดำเนินการ เรื่อง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมและสำนักงานรัฐมนตรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
:: รายงานการติดตามการดำเนินการ เรื่อง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมและสำนักงานรัฐมนตรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567


สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้เปิดโอกาสให้ประชาชน/ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงาน การพัฒนากระบวนงาน และการจัดบริการของส่วนราชการ ซึ่งได้มีการยึดแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เรื่อง มาตรการ กลไกในการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้วย โดยได้ดำเนินการด้านต่างๆ ดังนี้    

1. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

    1.1 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดกิจกรรมประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และการพัฒนาระบบบริหารการต่อต้านการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับแผนปฏิบัติการกระทรวงคมนาคม รวมทั้งมีแนวทางการขับเคลื่อนและทิศทางประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น สร้างความร่วมมือ (Collaborate) แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
กิจกรรมการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

    1.2 ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ โดยมอบ หมายให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ

    1.3 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานการจัดทำทำแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีส่วนร่วมและการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ โดยเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น สร้างความร่วมมือ (Collaborate) แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ ค่านิยมหลัก แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สรุปประเด็นการมีส่วนร่วม
    
    1.4 การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- สรุปประเด็นการมีส่วนร่วม

    เพื่อให้การพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องรถบรรทุกน้ำหนักเกินเกิดการบูรณาการ การทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยความมีประสิทธิภาพ กระทรวงคมนาคมจึงได้มีคำสั่งที่ 18/2565 สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม 2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกัน การทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยมี รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง เป็นประธานกรรมการ มีรองศาสตราจารย์ สรวิศ นฤปิติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการตำรวจทางหลวง กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การท่าเรือแห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ผู้อำนวยการกองกฎหมาย) เป็นกรรมการ มีผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง ผู้อำนวยการสำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิศวกรรมยานยนต์ สำนักวิศวกรรมยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และรับข้อเสนอแนะไปกำหนดแนวทางการบูรณาการของหน่วยงานในการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และกำกับดูแลการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะแนวทาง นโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และวิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ให้จัดทำรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ และรายงานผลการดำเนินงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทราบ ทุก 30 วัน

- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1
รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2

2. ด้านความปลอดภัย

    สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ โดยคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครือข่ายจากทุกภาคส่วน และภาคเอกชน เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อให้การดำเนินงานของคณะทำงานฯ แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แลละสามารถเสนอมาตรการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ได้ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งการสร้างการมีส่วนร่วมนี้เป็นสร้างความร่วมมือ (Collaborate) เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการติดสินใจ ร่วมกันพัฒนาและหาแนวทางแก้ไขปัญหา และกำหนดมาตรการซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานยนต์
- ประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ (เพิ่มเติม)
รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1
รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2
รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3
รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 4
รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 5

3. ด้านการต่างประเทศ
-การขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร


-การประชุมระดับนโยบายและการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (Cold chain logistics) เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๖ ผ่านทางระบบการประชุมทางไกล

สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมมีการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป (Consult)

- เผยแพร่เอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 23 และครั้งที่ 24 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป
(เปิดรับฟังความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2562 )

การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงเทพฯ

3. ร่างพิธีสาร 4 ว่าด้วยสิทธิการบินเชื่อมจุดในประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีอย่างเต็มที่สำหรับบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ
[Download File : Thai Version / English Version]
4. ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน
[Download File : Thai Version / English Version]

การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม 2560 ณ ประเทศสิงคโปร์

1. ร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 10 ของบริการขนส่งทางอากาศภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน 
[Download File : Thai Version / English Version]
2. ร่างพิธีสาร 3 ว่าด้วยสิทธิการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันสำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ ภายใต้ความตกลงพหุภาคีอาเซียนว่าด้วยการเปิดเสรีอย่างเต็มที่สำหรับบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ
[Download File : Thai Version / English Version]

4. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

    สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของกระทรวงคมนาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสังกัดได้ตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่และบูรณาการการทำงานร่วมกัน ให้สามารถบรรลุเป้าหมายระดับแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ภายใต้แผนแม่บท ประเด็น (7) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัลตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวม 14 หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำนวนรวม 214 คน เข้าร่วมสัมมนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมอาคารสโมสรและหอประชุมกระทรวงคมนาคม
รายงานการติดตามการดำเนินการ เรื่อง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมและสำนักงานรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

5. ด้านการอุทธรณ์เงินค่าทดแทน

    ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ ผู้เสนอกฎหมายพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎหมายเพื่อเป็นการกลั่นกรองก่อนการเสนอร่างกฎหมายเบื้องต้น รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟัง ความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ความในมาตรา 77 กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมายเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมาย ทุกขั้นตอนเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการตรากฎหมาย ทุกขั้นตอน

    สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมจึงจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตราร่างกฎหมายซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม โดยเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ผ่านทาง Website กระทรวงคมนาคม ในระหว่างวันที่ 2 – 17 เมษายน 2564

    รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรอง ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ครั้งที่ 2/2564 วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 2 กระทรวงคมนาคม

6. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    - ผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการศูนย์บริการร่วมคมนาคม

7.ด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม
    สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกลาง มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากรและบริหารราชการทั่วไป รวมทั้งงานกำกับ เร่งรัด ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ. 2566 – 2570 ให้สอดรับและสนับสนุนการดำเนินงานของแผนระดับที่ 1 และแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ความเชื่อมโยง กำหนดเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
    - การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

8.ด้านการติดตามการแก้ปัญหาของกระทรวงคมนาคม
     
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกลาง มีภารกิจเกี่ยวกับ ติดตามประเมินผลเรื่องราวร้องทุกข์ และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม
     - 
การประชุมคณะทำงานการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม

หน่วยงานอื่นๆ 

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม
การสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

------------------------------------------------------------------
:: ช่องทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อกระทรวงคมนาคม ::
:: ช่องทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อนโยบายสำคัญเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม ::