องค์ประกอบของ กชย.
พ.ร.บ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๔/๒๑
ได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ (กชย.) ประกอบด้วย ผู้แทนจาก ๙ หน่วยงาน จำนวน ๑๓ ท่าน ได้แก่
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (๔) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (๕) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (๖) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (๗) ผู้บัญชาการทหารบก (๘) ผู้บัญชาการทหารเรือ (๙) ผู้บัญชาการทหารอากาศ (๑๐) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (๑๑) ผู้อำนวยการ กชย. (๑๒) ข้าราชการในสำนักงาน กชย. (๑๓) ข้าราชการในสำนักงาน กชย. |
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ |
หน้าที่และอำนาจของ กชย.
พ.ร.บ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖๔/๒๒
ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ (กชย.) ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการ และเขตความรับผิดชอบ
ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย
(๒) เห็นชอบแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติโดยคำนึงถึงมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อ กชย. เห็นชอบแล้ว ให้สำนักงาน กชย. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนฯดังกล่าว
(๓) กำหนดมาตรการในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จากอากาศยานที่อยู่ในภาวะอันตรายให้สอดคล้องกับมาตรฐานตามข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๕/๑๗ (๗)
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการค้นหา
และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยรวมทั้งการออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการดังกล่าว
(๕) วางระเบียบเกี่ยวกับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๖) ให้คำแนะนำ ปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินการและพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง กชย. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนหรือตามที่มอบหมายก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ (เกี่ยวกับการองค์ประกอบของการประชุม) มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม