รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ณ ท่าอากาศยานขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดย รวค. กล่าวว่า ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน คค. มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว โดยได้เร่งรัดเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาเส้นทางหลวงในพื้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และพบปะกับประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการเรื่องพัฒนาเส้นทางคมนาคมและขนส่งสินค้าด้านการเกษตร ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งที่ผ่านมา ทล. ได้ดำเนินการพัฒนาเส้นทางหลวงในพื้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งไปสู่จังหวัดใกล้เคียง และเป็นประธานในพิธีเปิดจุดพักรถถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ตอนพล – บ้านไผ่ ที่ กม.291+050 พร้อมลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาเส้นทางหลวงในพื้นที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ ทล. โดยแขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 3 หมวดทางหลวงบ้านไผ่ ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง รวมทั้งก่อสร้างและบํารุงรักษาทางหลวงให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมในพื้นที่รับผิดชอบ และเชื่อมโยงกับทางหลวงอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง


 

       
       

รวค.  เป็นประธานในพิธีเปิดการซ้อมแผนฉุกเฉินอุบัติเหตุรถขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อกำหนดความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศ ทางถนนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปภายใต้สหประชาชาติ หรือข้อกำหนด ADR เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2565 ณ ลานหน้าอาคารศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดย รวค. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการดำเนินนโยบายเพื่อลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน สวัสดิภาพที่ดีของพี่น้องประชาชน อันเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันของประเทศ คค. มีภารกิจในการดูแลระบบขนส่งและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมให้ครอบคลุมทุกมิติการเดินทาง ตามแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับความตกลงในภูมิภาคและได้ลงสัตยาบันในพิธีสารฉบับที่ 9 สินค้าอันตรายภายใต้กรอบความตกลงการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียนในปี 2559 และได้มีการพัฒนา การควบคุม กำกับดูแล การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามแนวทางและข้อกำหนด ADR มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และนอกเหนือจากนั้น คค. ได้เน้นย้ำถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยกำกับดูแลการขนส่งวัตถุอันตรายทางถนน ให้มีความปลอดภัย ทั้งการใช้เทคโนโลยี GPS ในการกำกับ ดูแล ความเร็วและชั่วโมงการทำงานของผู้ขับรถขนส่งวัตถุอันตราย และในอนาคตได้มอบนโยบายให้มีการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพิ่มเติมในการส่งเสริมความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ทั้งการนำเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่ (RFID) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) รวมไปถึงการพัฒนาระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) การขนส่งวัตถุอันตรายทางถนนถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เพิ่มมูลค่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของรัฐบาลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของประเทศไทยในเวทีโลก ดังนั้น การจัดโครงการนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพนักงานขับรถ ผู้ประกอบการขนส่ง และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานสากล อันจะช่วยลดความสูญเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


 

       
       

รวค. และคณะ ตรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 42 บ้านคลองแงะ – จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก ตอนบ้านโต้นนท์ – บ้านลำชิง และพบปะประชาชนในพื้นที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2565 ณ บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ พร้อมทั้งพบปะประชาชนในพื้นที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดย รวค. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 42 สายบ้านคลองแงะ – จุดผ่านแดนถาวรสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทาง ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี เชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนอำเภอสุโหงโก-ลก ประเทศมาเลเซีย ประตูการค้าสำคัญของประเทศ โดยขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร) ระยะทางประมาณ 10.720 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง มีความคืบหน้าร้อยละ 8.87 คาดว่า จะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 โดยเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการจะมีส่วนสำคัญ ในการส่งเสริมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพิ่มศักยภาพในการขนส่งและการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดีใน


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2565 โดย รวค. กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้ คค. เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกมิติทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคมในการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่ รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง และการแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดลพบุรีครั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดการดำเนินโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง โดย รวค. ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด คค.ดำเนินงานทุกโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนเป็นลำดับแรก รวมทั้งความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และดำเนินการตามมาตรการและแนวปฏิบัติระยะยาวสำหรับโครงการก่อสร้างของ คค. ทั้งหมด โดยเพิ่มมาตรการการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย มีการนำระบบ Safety Audit มาใช้ในระหว่างการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อประชาชนผู้ใช้ทางขึ้นอีก รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในปัจจุบันให้มีความมั่นคงและความปลอดภัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานเร่งพัฒนาระบบและวิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินงานของ คค. ให้กระชับ รวดเร็ว ทันสมัย และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการจัดระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติเพื่อให้ตรงกับรูปแบบการใช้บริการของประชาชน รวมทั้งมีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาโครงข่าย โดยให้หน่วยงานคมนาคมในพื้นที่บูรณาการกับจังหวัดลพบุรี เพื่อใหัการจัดทำงบประมาณลงพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2565 โดย รวค. กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้ คค. เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกมิติทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ อำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพิจิตรครั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดการดำเนินโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดย รวค. ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ คค. ดำเนินการดังนี้
1) เร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงบริเวณจุดคอขวดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
2) กำชับให้การดำเนินงานก่อสร้างโครงการของทุกหน่วยงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยเป็นสำคัญ
3) มอบหมายให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ร่วมกันจัดทำ Workshop ในพื้นที่จังหวัดพิจิตรกับภาคประชาชนและเอกชน เพื่อบูรณาการการพัฒนาโครงข่ายถนนให้ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
4) ให้พัฒนาระบบและวิธีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของกระทรวงคมนาคมให้กระชับ รวดเร็ว ทันสมัย และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
5) มอบหมายให้กรมเจ้าท่าบูรณาการกับกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อไม่ให้เกิดการพัฒนาโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งพังทับซ้อนกัน


 

 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้ารถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง - สายสีชมพู และทดลองนั่งขบวนรถไฟฟ้าเพื่อทดสอบระบบ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้าง แผนการพัฒนาโครงการฯ ในอนาคต การเชื่อมต่อกับโครงการขนส่งมวลชนอื่น ๆ และความพร้อมของขบวนรถต่าง ๆ รวมถึงแผนการเตรียมเปิดให้บริการเดินรถ โดย รวค. กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) โดยกำหนดให้เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ที่ก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง 2 สายแรกของประเทศไทย เมื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายทางแล้วเสร็จ จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วยให้ประชาชนเดินทางจากชานเมืองสู่ใจกลางเมืองได้แบบไร้รอยต่อ เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี พบว่าบางพื้นที่มีสาธารณูปโภคตามแนวเส้นทางก่อสร้างอยู่ด้วย ส่งผลให้การก่อสร้างมีความล่าช้า ซึ่ง รวค. ได้มอบนโยบายให้เร่งประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าได้อย่างราบรื่นแล้วเสร็จตามกำหนด และดำเนินการคืนพื้นที่โดยเร็วเพื่อบรรเทาปัญหาจราจร ลดผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนให้มากที่สุด พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) และการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่มีความหมาะสมเป็นธรรม


 


 

       
       

รวค. และคณะ ตรวจความพร้อมการให้บริการและการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ตามการปรับมาตรการผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 ณ ทสภ. โดย รวค. กล่าวว่า จากการปรับมาตรการผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 ตามนโยบาย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. เป็นการปรับแผนการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติมากขึ้น โดยยังคงต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass แต่ปรับลดประเภทเอกสารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการลงทะเบียน สำหรับคนไทยตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 ยกเว้นการใช้ระบบ Thailand Pass ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวและการเดินทาง เข้าประเทศเพิ่มขึ้น จากการลงพื้นที่วันนี้ได้ตรวจความพร้อมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการให้บริการและการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ทั้งบริเวณด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งยังคงมีการตรวจคัดกรองโรคผู้โดยสาร ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเข้มงวดเช่นเดิม อาทิ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย คัดกรองอาการป่วย การตรวจเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจ Professional ATK (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือรับวัคซีนไม่ครบและไม่มีผลตรวจโควิดก่อนเดินทาง รวมทั้งกรณีไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองโรคที่กำหนด) สำหรับผู้โดยสารที่ผ่านการคัดกรองแล้วสามารถผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการเข้าประเทศได้ตามปกติ แต่หากไม่ผ่านการคัดกรองจะต้องดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป รวค. ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมความพร้อมระบบบริการเชื่อมต่อการเดินทาง หลังออกจากท่าอากาศยาน เช่น รถขนส่งสาธารณะ รถรับจ้าง และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการเปิดประเทศในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ จะส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จึงควรเตรียมความพร้อมระบบการเดินทางให้คล่องตัวและเพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยได้มากขึ้นและส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 โดย รวค. กล่าวว่า คค. มีนโยบายได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศเวียดนาม สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้มอบหมายให้หน่วยงาน ในสังกัดดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดย มอบหมายให้ ทช. ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทดแทนสะพานเดิม (สะพานไม้) ซึ่งเป็นสะพานที่ประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการเดินทางและขนส่งพืชผลทางการเกษตร เชื่อมต่อระหว่างบ้านหนองสะมอน ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ กับตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ทำให้ประชาชนเดินทางไม่สะดวกและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จประชาชนในพื้นที่จะสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยลดระยะเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มประสิทธิภาพของระบบคมนาคมภายในจังหวัด ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างงานและเพิ่มรายได้


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เพื่อตรวจความพร้อมการดำเนินการตามนโยบายเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 ตามที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ผ่อนปรนปรับมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย รวค. กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อตรวจความพร้อมการดำเนินการของท่าอากาศยานในการรองรับผู้โดยสาร ตามที่ ศบค. เห็นชอบปรับมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ยกเลิกมาตรการ Test & Go ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 พ.ค. 2565 โดยกำหนดให้ผู้โดยสารที่เข้าประเทศ ต้องได้รับวัคซีนตามที่กำหนดและทำ Self ATK ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 72 ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวันนี้ได้ตรวจความพร้อมการดำเนินงาน ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จุดตรวจหนังสือเดินทาง และจุดตรวจศุลกากร นอกจากนี้ ยังได้ประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับท่าอากาศยานภายใต้การกำกับดูแลของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีความพร้อมรองรับการเปิดประเทศทุกด้าน ทั้งกระบวนการคัดกรองและการให้บริการผู้โดยสารขาเข้าและขาออกมีการดำเนินการที่เป็นระบบ รวมทั้งมีความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร อาคารจอดรถ และระบบการให้บริการขนส่งสาธารณะ โดยมีข้อสั่งการดังนี้
1. มอบข้อสั่งการให้ กพท. ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนมาตรการเข้าประเทศใหม่ที่จะเริ่มในวันที่ 1 พ.ค. 2565
2. มอบให้ ทย. และ ทอท. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการปฏิบัติของผู้โดยสารทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และจัดเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ
3. มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับมาตรการและขั้นตอนการเดินทาง โดยดำเนินการทั้งภายในประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศได้ทราบ
4. มอบให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมรองรับการให้บริการผู้โดยสารในกรณีสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย


 

       
       

รวค. เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย รมว.กก ประธานคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และคณะ ในวันที่ 18 มี.ค. 2565 รวค. กล่าวว่า ปัจจุบันการเดินทางไปเกาะลันตาจะต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 เพื่อลงแพขนานยนต์ที่ท่าเรือบ้านหัวหินไปยังท่าเรือบ้านคลองหมาก ท่าเรือดังกล่าวเชื่อมระหว่างเกาะกลางไปยังเกาะลันตาน้อย หลังจากนั้นจะมีสะพานสิริลันตาเชื่อมเกาะลันตาน้อย - เกาะลันตาใหญ่ จึงจะถึงตัวเมือง ย่านชุมชนการค้า และตรงต่อไปยังหาดต่าง ๆ ซึ่งการใช้แพขนานยนต์บรรทุกรถได้น้อยมีจำนวนและเวลาการให้บริการจำกัด ส่งผลให้การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้าในช่วงเวลาเร่งด่วน ในการนี้ ตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ที่มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วทั้งประเทศอย่างบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับพี่น้องประชาชน กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบนโยบายให้ ทช. ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา บรรเทาปัญหาจราจรที่ล่าช้าบริเวณทางเชื่อมเกาะระหว่างตำบลเกาะกลางและตำบลเกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค สนับสนุน และอำนวยความสะดวกทาง ด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมและการขนส่ง และแก้ไขปัญหาจราจร ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


 

       
       

รวค. เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง พร้อมด้วย รมว.กก ประธานคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และคณะ ณ บริเวณสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา บ้านแหลมจองถนน ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ในวันที่ 18 มี.ค. 2565 รวค. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ในการมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วทั้งประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางบนถนนและสะพานที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคม ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมในเชิงรุก โดยมุ่งเน้นการบูรณาการระหว่างรูปแบบการขนส่ง การกำกับดูแลการพัฒนาระบบคมนาคมให้มีความสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน รวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมอบหมายให้ ทช. ดำเนินโครงการการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา - ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อช่วยเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้เกิดความสมบูรณ์ เพิ่มศักยภาพในการเดินทางเชื่อมระหว่างจังหวัดพัทลุงกับสงขลา ลดระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร หรือลดระยะเวลาในการเดินทางราว 2 ชั่วโมง เป็นการสนับสนุนอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรมอุตสาหกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งทะเลสาบสงขลา


 

       
       

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. เป็นประธานในพิธีเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งในพื้นที่จังหวัดยะลา กระตุ้นเศรษฐกิจและความมั่นคง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงคมนาคม โดย ทย. พร้อมเปิดให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ ท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ในการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้ไขปัญหาการเดินทางสู่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวกต่อการเดินทางให้สามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ได้ร่วมเดินทางไปกับเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ และเป็นประธานในพิธีเปิดเที่ยวบินพาณิชย์ปฐมฤกษ์ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองรนม. และ รมว.สธ. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มท. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รวค. และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รชค. เข้าร่วมพิธีฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 ณ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานเบตง ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา


 

       
       

รวค. พร้อมด้วย นางนาที รัชกิจประการ ประธานคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) และโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 212 สายอำเภอโพนพิสัย - บึงกาฬ ตอนตำบลหอคำ - บึงกาฬ เพื่อเพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง สนับสนุนท่องเที่ยว เชื่อมโยงไทย - สปป.ลาว เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2565 โดย รวค. กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงฯ น้อมรับนโยบายดังกล่าว และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จึงได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทล. ทช. ทย. และ จท. ร่วมกันพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชนในภูมิภาคให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งการคมนาคมขนส่งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ ในโอกาสนี้ รวค. ได้พบปะประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ เมื่อโครงการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จ จะช่วยเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยและ สปป.ลาว ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยทางหลวงหมายเลข 212 สายอำเภอโพนพิสัย - บึงกาฬ จะเป็นทางผ่านไปสู่สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ทำให้เส้นทางดังกล่าวเป็นการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และภูมิภาคอาเซียนได้ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมถึงสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC) นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภูมิภาคอีกด้วย


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับบนถนนพระราม 2 และทางพิเศษพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 โดย รวค. กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมสู่ภาคใต้ของประเทศให้ลุล่วงโดยเร็ว ทั้งนี้  รวค. ได้ลงตรวจพื้นที่ก่อสร้าง โดยเริ่มจากโครงการก่อสร้างทางยกระดับฯ ของกรมทางหลวง และต่อไปที่โครงการทางพิเศษฯ ของ กทพ. และได้สั่งการให้ ทล. และ กทพ. บูรณาการร่วมกัน 6 มิติ ได้แก่ มิติบริหารพื้นที่ร่วม มิติการออกแบบ มิติการเร่งรัดงานก่อสร้าง มิติการบริหารจราจร มิติการประชาสัมพันธ์ และมิติการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การบริหารการใช้พื้นที่ร่วมกันโครงการที่มีพื้นที่ซับซ้อน การใช้พื้นสะพานแบบหล่อสำเร็จรูป (Precast Box Segment) การกำกับดูแลติดตามให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ การก่อสร้างในพื้นที่เฉพาะที่กั้นไว้ การประชาสัมพันธ์สื่อสารข้อมูลด้วยป้าย VMS (ป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ) MVMS (ป้ายปรับเปลี่ยนข้อความแบบเคลื่อนที่ได้) และติดตั้งกล้อง CCTV ตรวจสภาพการจราจรเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ พร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารและบูรณาการเพื่อควบคุมการในโครงการก่อสร้างแบบ Real-Time เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ลดปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนน และอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้ประชาชนผู้ใช้ทางระหว่างการก่อสร้าง


 

       
       

รวค. และคณะ เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของ กทท. พร้อมมอบนโยบายการพัฒนาการขนส่งทางน้ำให้เร่งจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2565 โดย รวค. กล่าวว่า ด้วยนโยบายของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ต้องการพัฒนาโลจิสติกส์ทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโลจิสติกส์ทางน้ำมีความสำคัญโดยต้องบูรณาการกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาศักยภาพของการขนส่งสินค้าทางน้ำให้เต็มความสามารถ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน โดยได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้กับ กทท. ดังนี้
1. เร่งรัดโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่ 3 และการนำระบบท่าเรืออัตโนมัติ (Port Automation) มาใช้ในการปฏิบัติงานและการให้บริการ
2. การจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ
3. เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
4. สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางชายฝั่ง
5. เร่งรัดโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port)
6. พัฒนาโครงการ Landbridge โดยการพัฒนาท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งของ Landbridge ให้เชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นอย่างไร้รอยต่อ (Seamless)
7. ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ต้องดำเนินการให้เป็นระบบ
8. การบริหารงานของ กทท. ต้องยึดระเบียบ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
9. การพิจารณาศึกษาการปรับรูปแบบโครงสร้างของการบริหาร กทท. ให้ดำเนินการบริหารจัดการที่ทันสมัย ทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความผันผวนของเศรษฐกิจ
10. ให้ความห่วงใยเรื่องการจัดการมาตรการสาธารณสุข เพื่อลดการการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ขอให้ทุกคนช่วยๆกันปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
11 . เรื่องการบริหารสินทรัพย์โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ ต้องเน้นการสร้างความเข้าใจกับภาคประชาชน


 

       
       

รนม. และ รมว.สธ. พร้อมด้วย รวค. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมในการเปิดให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์อย่างเป็นทางการของท่าอากาศยานเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2565 โดย รวค. กล่าวว่า ท่าอากาศยานเบตง ดำเนินการก่อสร้างขึ้นตามนโยบาย ของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแก้ปัญหาการเดินทางสู่อำเภอเบตง ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ให้สัญจรไปมาได้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัจจุบันท่าอากาศยานเบตง ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (Public Aerodrome Operating Certificate : PAOC) ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว ทั้งด้านกายภาพ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และบุคลากรที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บริการภายใต้มาตรการ การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย


 

       
       

รวค. เป็นประธานในพิธีเปิดสะพานพระราชวังจันทน์ (โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ให้กับประชาชน และได้ปล่อยขบวนรถอำนวยความปลอดภัยการจราจรให้กับประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ 2565 โดย รวค. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วทั้งประเทศอย่างบูรณาการ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางบนถนนและสะพานที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคม ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมในเชิงรุก โดยมุ่งเน้นการบูรณาการระหว่างรูปแบบการขนส่ง การกำกับดูแลการพัฒนาระบบคมนาคมให้มีความสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน รวมถึงการแก้ไขปัญหาจราจรเพื่อให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จึงมอบหมายให้ ทช. ดำเนินการก่อสร้างสะพานพระราชวังจันทน์ (โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 79.950 ล้านบาท โดยสะพานดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เชื่อมต่อไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดนางพญา และวัดราชบูรณะ ตัวสะพานมีความยาวรวม 116 เมตร แบ่งเป็น 5 ช่วงความยาว ผิวทางกว้าง 7 เมตร รองรับการจราจร 2 ช่องจราจร (ไป - กลับ) แต่ละด้านของสะพานมีทางเท้าและทางจักรยานกว้างด้านละ 3 เมตร โครงสร้างสะพานช่วงข้ามแม่น้ำมีลักษณะเป็นสะพานเหล็กโค้ง (Steel Arch Bridge) ความยาวช่วง 80 เมตร เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อสร้างเสาตอม่อในแม่น้ำอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่อประเพณีการแข่งเรือยาวที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง ทช. ยังได้มีมาตรการเร่งรัดงานโดยการผลิตโครงสร้างเหล็กของสะพานแยกเป็นส่วน ๆ ในโรงงานแล้วนำมาประกอบติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งมาตรการดังกล่าวนอกจากจะทำให้ก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้แล้ว ยังสามารถช่วยลดผลกระทบจากการก่อสร้างต่อประชาชนในพื้นที่ได้ สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของสะพาน ได้แก่ ราวสะพานและเสาไฟฟ้าแสงสว่าง ได้ออกแบบให้มีความสวยงามโดยนำรูปแบบทางจิตรกรรมของท้องถิ่นมาประยุกต์ ประกอบกับลักษณะทางโครงสร้างของสะพานที่แตกต่างจากสะพานอื่นและสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม ทำให้สะพานแห่งนี้เป็นแลนด์มาร์ก (Landmark) ใจกลางเมืองพิษณุโลกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย


 

       
       

รวค. พร้อมด้วย รชค. (นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล) และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการขยายช่องทางจราจรและปรับปรุงเส้นทางหลวงในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และพบปะกับประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เมื่อวันที่ 17-18 ธ.ค. 2564 โดย รวค. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั่วประเทศอย่างบูรณาการ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนให้สามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจากโครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จึงได้มอบหมายให้ คค. ดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงเส้นทางหลวงและขยายช่องทางการจราจรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดย ทล.  ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการก่อสร้างทางคู่ขนาน รวมถึงปรับปรุงทางแยกขนาดใหญ่


 

       

รวค.  และคณะ เดินทางไปตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลและสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ จท.  พร้อมมอบให้ จท. เร่งพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวทางทะเลระหว่างประเทศของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2564 ณ ท่าเรือจุกเสม็ด จังหวัดชลบุรี โดย รวค. กล่าวว่า จท. ได้จัดทำแผนการพัฒนาชายฝั่งทะเล ด้านการเสริมทรายชายหาด (Beach Nourishment) เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ฟื้นฟูพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้ และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง จท. ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการเสริมทรายฟื้นฟูชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร ตั้งแต่ชายหาดพัทยาเหนือ บริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ถึงชายหาดพัทยาใต้ บริเวณวอล์คกิ้ง สตรีท แล้วเสร็จในปี 2562 จึงเป็นต้นแบบขยายโครงการต่อเนื่องไปในอนาคต ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการเสริมทรายชายหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ระยะที่ 1 ระยะทาง 3.6 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565 รวมทั้งมีแผนงานเสริมทรายชายหาดท่องเที่ยวในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น ชายหาดบางแสน ชายหาดสมิหลา ชายหาดชะอำ ชายหาดเขาหลัก ชายหาดบางเสร่ ชายหาดอ่าวดงตาล ชายหาดแสงจันทร์ ชายหาดปราณบุรี และชายหาดทรายรี เป็นต้น โดยใช้งบประมาณ 5,400 ล้านบาท ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร ซึ่งการเสริมทรายชายหาดนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะและฟื้นฟูชายหาดอย่างยั่งยืนแล้ว ยังช่วยส่งเสริม สนับสนุนภาคการท่องเที่ยว และสร้างรายได้เป็นจำนวนมากให้กับประเทศอีกด้วย


 

       
       

รวค. พร้อมด้วย รมว.กก. และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาของกรมทางหลวงชนบท และการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2564 ณ บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ จังหวัดพัทลุง โดย รวค. กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนระหว่างจังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะพื้นที่ตรงกลางของทะเลสาบสงขลา จึงได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงชนบท ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง ปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการออกแบบโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาแล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว ลักษณะของโครงการมีรูปแบบสะพานที่เหมาะสม คือ สะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานคอนกรีตรูปกล่อง ความหนาคงที่ (Box Segmental Bridge) ขนาด 2 ช่องจราจร สามารถขยายเป็น 4 ช่องจราจรได้ในอนาคต มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกจากถนน พท. 4004 (กม.ที่ 3+300) บ้านแหลมจองถนน ตำบลจองถนน อำเภอเขาสนชัย จังหวัดพัทลุง และมีจุดสิ้นสุดที่ถนน อบจ.สงขลา บ้านแหลมยาง ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา รวมระยะทางทั้งสิ้น 7 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 4,635 ล้านบาท ซึ่งกรมทางหลวงชนบทจะดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณค่าก่อสร้างต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี โครงการนี้สามารถร่นระยะการเดินทางได้มากกว่า 80 กิโลเมตร หรือระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะรองรับถนนเพื่อการท่องเที่ยวโดยรอบทะเลสาบสงขลาพร้อมทั้งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ส่งเสริมการขนส่งโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงทะเลอันดามัน – อ่าวไทย


 

       
       

รวค. พร้อมด้วย รมว.กก. และคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ในวันที่ 12 พ.ย. 2564 ณ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ รวค. ได้ลงพื้นที่พบปะกับประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางสัญจรในพื้นที่ รวมทั้งภาคขนส่งเพื่อสนับสนุนด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การบริการและการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ซึ่ง คค. โดย ทช. ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง - ตำบลเกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโนบายในการดำเนินโครงการต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และให้ทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านทุกมิติ ให้ความสำคัญกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่ พร้อมทั้งมีข้อสั่งการให้กรมทางหลวงชนบท ขยายถนนภายในเกาะลันตา เป็นขนาด 12 เมตร และมีไหล่ทางเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัย และรับเรื่องร้องเรียนความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อช่วยเหลือและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป


 

         

รวค. พร้อมด้วย รมว.กก. และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดระนอง และเป็นประธานส่งมอบพื้นที่แขวงทางหลวงระนองให้กับโรงพยาบาลระนอง เพื่อใช้พัฒนาเพิ่มศักยภาพรองรับการให้บริการด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2564 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง โดย รวค. ได้เปิดเผยภายหลังรับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมในพื้นที่จังหวัดระนอง ว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดระนอง กรมทางหลวง อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการพัฒนาโครงข่ายถนน จาก 2 ช่องทางเป็น 4 ช่องทาง ได้แก่ โครงการทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) สายชุมพร - ระนอง ซึ่งจะก่อสร้าง แล้วเสร็จในเดือน มี.ค. 2565 และสายระนอง - สุขสำราญ จะดำเนินการก่อสร้างตามแผนปีงบประมาณ 2566 - 2570 เพื่อรองรับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาจัดทำรายงานความก้าวหน้า โดยในปี 2564 - 2565 ดำเนินการศึกษาผลกระทบ ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ปี 2573 เพื่อลดเวลาและระยะทางในการขนส่ง ประหยัดต้นทุนในการขนส่ง หลีกเลี่ยงปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกา สามารถจูงใจผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุนให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้มากขึ้น


 

       
       

รวค. และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี และตรวจเส้นทางโครงข่ายการคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย ในวันที่ 21 ต.ค. 2564 โดย รวค. กล่าวว่า จากเหตุอุทกภัยที่มีฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ทำให้โครงข่ายคมนาคมและเส้นทางสัญจรได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในหลายพื้นที่ ด้วยความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชน ได้เดินทางลงพื้นที่อุทกภัย เพื่อให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพบริเวณทางหลวงชนบท สายทาง อย.3011 อย.3020 วัดทำใหม่ ตำบลปากกราน บ้านคลองตะเคียน ตำบลบ้านคลองตะเคียน และติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างขยายช่องทางจราจร ทางหลวง หมายเลข 3056 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณทางหลวงหมายเลข 3309 ที่ว่าการอำเภอสามโคก และวัดพลับสุทธาวาส จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งรับฟังปัญหา แนวทางการแก้ไข และติดตามการดำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงานในพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล


 

       
       

รวค. และคณะ ลงพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อตรวจความพร้อมการรองรับและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีความพร้อม 100% และนำบทเรียนภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มาปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้ เตรียมสรุปความพร้อมในวันที่ 27 ต.ค. 2564 เพื่อหารือมาตรการร่วมกับ ศบค. เพื่อนำไปสู่ข้อปฏิบัติที่ชัดเจน โดย รวค. กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรองรับนโยบายการเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิครั้งนี้ ได้รับนโยบายพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยการลงพื้นที่วันนี้เป็นการเตรียมความพร้อมท่าอากาศยานที่รองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศของท่าอากาศยานของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานดอนเมือง, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานภูเก็ต


 

       
       

รวค. และคณะ ตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย และเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2564 จากอิทธิพลพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ซึ่งอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2564 ส่งผลให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนที่ตกสะสมทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก มีโครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบหลายจังหวัด และหลายพื้นที่ยังมีปริมาณน้ำมากและเส้นทางคมนาคมยังไม่สามารถสัญจรได้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้กระทรวงคมนาคมเร่งสำรวจ ซ่อมแซม และแก้ปัญหาเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย สำหรับเส้นทางที่ยังไม่สามารถเปิดสัญจรได้ขอให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนและเป็นการลดผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ณ บริเวณลานหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลไชโยและตำบลจระเข้ร้อง พร้อมสั่งการหน่วยงานในพื้นที่เร่งรัดงานซ่อมแซม ฟื้นฟูเส้นทางที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ที่ส่งผลให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้โครงข่ายคมนาคมในพื้นที่จังหวัดอ่างทองได้รับผลกระทบและในบางพื้นที่ยังมีระดับน้ำสูงทำให้เส้นทางคมนาคมยังไม่สามารถสัญจรได้


 

       
       

รวค. และคณะ ตรวจเยี่ยมการดำเนินการศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ มอบอาหาร เครื่องดื่ม และของว่างให้บุคลากรทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โดยมอบอาหาร เครื่องดื่ม และของว่างให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการประชาชนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ปัจจุบันให้บริการฉีดวัคซีนแก่บุคลากรด่านหน้ากระทรวงคมนาคม พนักงานผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงประชาชนทั่วไปแล้วทั้งสิ้น 1,849,732 โดส และคาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรกลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรกได้ในวันที่ 6 ต.ค. 2564 โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1 แสนคน ซึ่งตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อจะเสร็จสิ้นภารกิจ ในวันที่ 28 พ.ย. 2564 


 

       
       

รวค. และคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการทดสอบระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือระบบ M-Flow ของ ทล. เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดให้บริการ ณ ด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางธัญบุรี 2 (ขาออก) และอาคารชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ศูนย์ควบคุมกลาง (CCB ลาดกระบัง)  ในวันที่ 15 ส.ค. 2564 โดย รวค. กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการทดสอบความพร้อมของการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow ในวันนี้ เป็นการตรวจความพร้อม ทั้งในส่วนของตัวอุปกรณ์และการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมรายการผ่านทางในระดับช่องทาง รวมไปถึงการส่งข้อมูลรถที่ผ่านทางเข้าไปยังระบบ Single Platform ที่อาคารศูนย์ควบคุมด้วย ซึ่งพบว่าโดยรวมของระบบมีความพร้อมสำหรับการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการแล้ว โดย ทล. มีกำหนดการที่จะทดสอบระบบเสมือนจริงแบบครบวงจร (Soft Opening) ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 คาดว่าระบบ M-Flow จะพร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2565 โดยเปิดให้บริการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ครบทั้ง 4 ด่าน ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 ในช่วงเดือนมกราคม 2565 ทางพิเศษฉลองรัช ระยะแรก จำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5 - 1 และด่านสุขาภิบาล 5 - 2 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ส่วนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 กรุงเทพฯ - บ้านฉาง และทางพิเศษฉลองรัช ระยะที่ 2 บูรพาวิถี และกาญจนาภิเษก คาดว่าจะสามารถเปิดทดสอบระบบได้ในช่วงปี 2566


 

       
       

รวค. และคณะ เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 เพื่อตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการเร่งด่วนและแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีข้อสั่งการ ดังนี้
1. เร่งรัดให้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จโดยเร็วและให้คำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยในการใช้เส้นทาง โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกและจุดตัดของถนนให้ติดตั้งแผ่นชะลอความเร็วเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
2. ขอให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเคร่งครัดโดยปฏิบัติตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง และลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อรองรับการเปิดประเทศตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
3. ให้เร่งรัดการบริหารงบประมาณตามดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ให้สำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์โดยยึดกฎระเบียบตามหลักธรรมาภิบาลให้ชัดเจน และดูข้อมูลปฏิทินงบประมาณ หากเกิดปัญหาให้เร่งดำเนินการแก้ไข
4. การจัดทำแผนการดำเนินงานให้ศึกษาและทบทวนอย่างรอบคอบ
5. ติดตามโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier: RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post RGP) เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางและเป็นการสร้างความปลอดภัยทางท้องถนน
6. ขอให้ ทล. และทช. มีโครงการถนนสวยงามอย่างน้อยจังหวัดละหนึ่งโครงการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
7. ให้ประสานงานกับหน่วยงานในท้องที่เพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
8. ต้องพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางบกให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการขนส่งทางอากาศต่อไป


 

       
       

นรม. พร้อมด้วย รอง นรม. และ รมว.สธ. และ รวค. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการให้บริการฉีดวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ณ สถานีกลางบางซื่อ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 โดย นรม. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องของการฉีดวัคซีน โดยได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ มีแผนการกระจายวัคซีน 3 ช่องทาง คือ 1.ผ่านระบบหมอพร้อม ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนประมาณ 7 ล้านคน 2. ช่องทางเสริมระบบหมอพร้อม โดยการลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีน ในกรณีที่มีวัคซีนสนับสนุนเพียงพอ 3. การกระจายวัคซีนเชิงยุทธศาสตร์ โดยการจัดสรรฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเฉพาะ อาทิ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยสามารถยื่นเรื่องให้กับกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรวัคซีนได้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าทุกคนในประเทศไทยจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างทั่วถึงแน่นอน โดยวันนี้ ถือเป็นวาระที่ดีที่เราทุกคนจะต้องให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มาช่วยอำนวยความสะดวก ในการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลแก่ประชาชนไม่เฉพาะที่สถานีกลางบางซื่อ แต่รวมถึงศูนย์ฉีดวัคคซีน ทั่วกรุงเทพฯ ด้วย


 

       
       

รอง นรม. และ รมว.สธ. พร้อมด้วย รวค. ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ จตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยเยี่ยมชมการให้บริการฉีดวัคซีนบริเวณพื้นที่ ได้แก่ จุดชั่งน้ำหนัก วัดความดัน จุดลงทะเบียน เซ็นใบยินยอม จุดฉีดวัคซีน และจุดพักรอสังเกตอาการ 30 นาที ซึ่ง รวค. กล่าวว่า ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ มีเป้าหมายในการดำเนินการอย่างแรก คือ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด่านหน้า (Front Line) ในการให้บริการขนส่งสาธารณะทุกประเภททั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีแผนการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายข้างต้นที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อแห่งนี้ วันละประมาณ 10,000 คน เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดให้บริการ ฉีดวัคซีนได้ประมาณ 5,000 คน วันที่ 25 พ.ค. 2564 ฉีดวัคซีนได้ 7,371 คน และในวันนี้ 26 พ.ค. 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 14.00 น. ฉีดวัคซีนไปแล้ว 5,559 คน การให้บริการของศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

       
       

รอง นรม. และ รมว.สธ. พร้อมด้วย รวค. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะใช้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนไวรัสโควิด 19 นอกโรงพยาบาลที่จะเปิดให้บริการฉีดวัคซีนในเดือนมิถุนายนนี้ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2564 โดย รอง นรม. และ รมว.สธ. กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลที่สถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานที่ถือว่ามีความพร้อมและเหมาะสมในการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดย สธ. และ คค. ได้ร่วมกันบูรณาการให้เป็นสถานีฉีดวัคซีนที่เป็นรูปธรรม โดยจะสามารถฉีดได้ประมาณ 10,000 คนต่อวัน  โดยจะเริ่มจากกลุ่มบุคลากรด้านการคมนาคมขนส่งสาธารณะ ที่มีอยู่ประมาณ 300,000 คน ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากในการให้บริการ ต้องสัมผัส พบปะกับประชาชนจำนวนมาก จะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้บริการขนส่งธารณะ ตามเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคม และหลังจากนั้น จะให้หน่วยงานราชการต่างๆ เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นลักษณะกลุ่มองค์กรต่อไป ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ รวค. กล่าวว่า ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดสรรพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อสำหรับใช้เป็น “ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ” เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และผู้ให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย สธ. จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาวัคซีนและบุคลากรทางการแพทย์โดยกรมการแพทย์และสถาบันโรคผิวหนังเป็นหน่วยงานหลัก ในการดูแลและให้บริการฉีดวัคซีนแต่ละวัน ส่วน คค. จะรับผิดชอบในเรื่องสถานที่และเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก


 

       
       

รวค. เดินทางไปเป็นประธานเปิดทดลองเพื่อเดินรถเสมือนจริงโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2564 ณ สถานีกลางบางซื่อ โดย รวค. กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางราง ซึ่งถือเป็นรูปแบบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพในด้านการใช้พลังงานช่วยสนับสนุนการขนส่งที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 กระทรวงคมนาคมพยายามส่งเสริมและมุ่งมั่นผลักดันเพื่อให้การขนส่งทางรางเป็นรูปแบบการเดินทางหลักของประเทศ จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนารถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย การพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รวมถึงพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งภายในประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ยกระดับการเดินทางของประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น


 

       
       

รวค. และคณะ เดินทางไปตรวจความพร้อมของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 เพื่อดูความพร้อมก่อนเปิดให้บริการประชาชนในปลายปี 2564 โดยได้ทดลองโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน จากการลงพื้นที่ตรวจความพร้อมในครั้งนี้ รฟท. จะต้องซ่อมบำรุงในส่วนที่เป็นสถานี ซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จมานานและไม่ได้เปิดใช้บริการ ต้องมีการปรับพื้นทางให้ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถเดินรถได้เต็มประสิทธิภาพ การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงจากสถานีบางซื่อ - ตลิ่งชัน ใช้ระยะเวลาประมาณ 15 นาที หากใช้รถยนต์อาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนเดินทางจากใจกลางกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย โดย รฟท. จะทดลองเดินรถเสมือนจริงในเดือน มี.ค. 2564 และมีแผนการซ่อมบำรุงระหว่างเดือน ม.ค. - เม.ย. 2564 ซึ่งในเดือน เม.ย. 2564 ระบบทุกอย่างจะสมบูรณ์ การบริหารการใช้พื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ ทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็น Smart Station เปิดโอกาสให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มผลิตสินค้า OTOP ใช้เป็นตลาดจำหน่ายสินค้า OTOP อย่างยั่งยืน นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่เพื่อลดต้นทุน บริหารโดยยึดหลักกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด และ รฟท. จะต้องรายงานแผนการใช้พื้นที่ต่อ คค. ภายใน 1 สัปดาห์