เกี่ยวกับกระทรวง

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

  • ประวัติ
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
  • อำนาจหน้าที่
  • ยุทธศาสตร์

ประวัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

   การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และต่อมาได้มีการปรับปรุงกฎหมาย โดยการประกาศใช้บังคับพระราช-บัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑ ปัจจุบันนี้ กทพ. มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ในสาระสำคัญ ดังนี้

๑.) สร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ
๒.) ดำเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับทางพิเศษและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ.

   ทั้งนี้ “ทางพิเศษ” มีคำจำกัดความตามกฎหมายว่า หมายถึง ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้น หรือได้รับโอนหรือได้รับมอบไม่ว่าจะจัดสร้างในระดับพื้นดิน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ และให้หมายความรวมถึงสะพานอุโมงค์ เรือสำหรับขนส่งรถข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นลงรถทางเท้า ที่จอดรถ เขตทาง ไหลทาง เขื่อนกั้นน้ำ ท่อ หรือทางระบายน้ำกำแพงกันดิน รั้วเขต หลักระยะ สัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร อาคาร หรือ สิ่งอื่นใดที่จัดไว้ในเขตทาง เพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับงานทางพิเศษ

ลำดับความเป็นมา

พ.ศ. ๒๕๐๙ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสำรวจแก้ไขเหตุขัดข้อง และวางแผนการจราจรทางบก

พ.ศ. ๒๕๑๒ คณะกรรการพิจารณาสำรวจแก้ไขเหตุขัดข้องและวางแผนการจราจรทางบก ได้เสนอความเห็นต่อรัฐบาลขอให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ประสานงานขอความช่วย-เหลือจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อส่งเชี่ยวชาญมาทำการสำรวจศึกษาและวางแผนแม่บท สำหรับการจราจรในกรุงเทพ-มหานคร พ.ศ. ๒๕๑๓ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (สมัยนั้น) ได้เสนอผ่านคณะรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทางขึ้น โดยให้กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่อง

๒๑ กันยายน ๒๕๑๔ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง
โดยมี นายถวิล สุนทรศารทูล เป็นประธานกรรมการ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๔ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างกฎหมายองค์การเก็บค่าผ่านทาง และคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดรูปแบบองค์การเก็บค่าผ่านทาง

๑๗ มกราคม - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่รวม ๔ คน ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเพื่อศึกษารายละเอียดประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายและการจัดรูปแบบองค์การฯ

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายองค์การเก็บค่าผ่านทางได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง และคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย ในขณะนั้นอยู่ในรัฐบาลของคณะปฏิวัติคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้ยกร่างแก้ไขจากพระราชบัญญัติเป็นประกาศของคณะปฏิวัติ และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๐

วิสัยทัศน์ของ กทพ. (Vision)
"มุ่งมั่นพัฒนาทางพิเศษ เพื่อให้บริการที่ดี มีความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อย่างยั่งยืน"

คำอธิบายวิสัยทัศน์ของ กทพ.

"มุ่งมั่นพัฒนาทางพิเศษ"

คำอธิบาย

- พัฒนาปรับปรุงโครงข่ายทางพิเศษปัจจุบันให้มีมาตรฐานที่ดี สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการ

- ขยายโครงข่ายทางพิเศษโดยการก่อสร้างทางพิเศษสายใหม่

 

"มีความคุ้มค่า"

คำอธิบาย

- ค้มค่าในการประหยัดเวลาเดินทาง

- คุ้มค่าในด้านการประหยัดน้ำมันและลดความสึกหรอของเครื่องยนต์

 

"สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย"

คำอธิบาย

- การทางพิเศษฯ จะให้บริการแก่ผู้ใช้ทาง ให้เดินทางด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยตั้งแต่เริ่มเข้าใช้บริการทางพิเศษและตลอดเส้นทางการเดินทาง

 

"อย่างยั่งยืน"

คำอธิบาย

- การทางพิเศษฯ จะดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอก ด้วยความเป็นธรรม พร้อมการบริหารจัดการผลประกอบการควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน

 

ความหมายของค่านิยม

ตามระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (เกณฑ์และวิธีการประเมิน) ของสำนักงานคณะกรรมการนโนบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๖ ค่านิยม หมายถึง สภาพหลัการชี้นำและพฤติกรรมที่คาดหวังให้องค์กรและบุคลากรปฏิบัติ ค่านิยมสะท้อนและเสริมสร้างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ขององค์กร ค่านิยมสนับสนุนและชี้นำการตัดสินใจของบุคลากรทุกคนและช่วยให้องค์กรบรรลุภารกิจ และวิสัยทัศน์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ตัวอย่างของค่านิยมอาจรวมถึงการแสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมและความยุติธรรมในการปฏิสัมพันธ์ในทุกกรณี การทำให้เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้า การเห็นคุณค่าของแต่ละบุคคล และของความหลากหลายของบุคลากร การป้องกันสิ่งแวดล้อม และการพยายามให้มีการดำเนินการที่เป็นเลิศทุก ๆ วัน


ค่านิยมของ กทพ. (Value)
"บริการเป็นเลิศ นวัตกรรมก้าวไกล ภาพลักษณ์ใสสะอาด"

คำอธิบายค่านิยมของ กทพ.

บริการเป็นเลิศ

คำอธิบาย มุ่งเน้นการให้บริการทางพิเศษที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้ผู้ใช้ทางพิเศษมีความพึงพอใจ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนของผู้ใช้ทางพิเศษ

นวัตกรรมก้าวไกล
คำอธิบาย นำเอาความคิด กระบวนการ หรือเทคโนโลยี เข้ามาปรับปรุงการให้บริการทางพิเศษ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร

ภาพลักษณ์ใสสะอาด
คำอธิบาย ดำเนินงานอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และสามารถตรวจสอบได้

ภารกิจองค์การ (Mission)

๑.) จัดให้มี พัฒนา/ปรับปรุงทางพิเศษให้เป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัย
๒.) บริการอย่างมีนวัตกรรมและคุณค่าเพิ่ม
๓.) บริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจทางพิเศษ
และประโยชน์ต่อสังคม
๔.) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าองค์การ

อำนาจหน้าที่

1. สำนักตรวจสอบ ประกอบด้วย

1.1 กองตรวจสอบ 1 
    มีอำนาจหน้าที่วางแผนการตรวจสอบและดำเนินการตรวจสอบ การปฏิบัติงาน ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานทั้งภายใน กทพ. เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายและแผนงาน และสนับสนุนให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการสามารถควบคุม กำกับการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และประหยัด รวมทั้งปฏิบัติงานในคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) เพื่อตรวจสอบการบริหารงานและการจัดการของ กทพ. 

    1.2 กองตรวจสอบ 2 
    มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับกองตรวจสอบ 1


2. สำนักผู้ว่าการ ประกอบด้วย

2.1 กองกลางและการประชุม 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานสารบรรณของ กทพ. งานประชุมของคณะกรรมการ กทพ. คณะกรรมการบริหารของ กทพ. ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับฝ่ายขึ้นไป และการประชุมอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 

    2.2 กองประชาสัมพันธ์และการตลาด 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการงานข่าวสารข้อมูลต่างๆ งานประชาสัมพันธ์และการตลาด งานสัมพันธ์ งานให้บริการ โสตทัศนูปกรณ์ และผลิตสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์และงานห้องสมุดและศูนย์เอกสาร ตลอดจนดำเนินงานและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ


3. ฝ่ายบริหารทั่วไป ประกอบด้วย

3.1 กองการเจ้าหน้าที่ 
    มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง งานทะเบียนประวัติ งานสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ งานสงเคราะห์ของพนักงานและลูกจ้าง 

    3.2 กองพัฒนาบุคคลและระบบงาน 
    มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลและระบบงาน รวมทั้งงานวางแผนและจัดอัตรากำลังให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ กทพ. 

    3.3 กองพัสดุ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริหารงานพัสดุ งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


4. ฝ่ายการเงินและบัญชี ประกอบด้วย

4.1 กองการเงิน 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการด้านการเงิน ด้านเงินกู้และด้านการตรวจจ่าย 

    4.2 กองบัญชี 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดทำ วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร รวมทั้งดำเนินการ ด้านผลิต ขาย ติดตาม และควบคุมการใช้บัตรทางด่วน (TAG) และบัตรผ่านทาง (คูปอง) ของ กทพ. 

    4.3 กองงบประมาณ 
    มีอำนาจหน้าที่กำหนดแผนงานโครงการจัดทำงบประมาณประจำปีให้มีประสิทธิภาพ จัดทำคำของบประมาณ และรายงานเงินงบประมาณในส่วนที่ขอรับการอุดหนุนจากรัฐบาล 

    4.4 กองตรวจสอบรายได้ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบรายได้ค่าผ่านทาง และเสนอแนะเพื่อควบคุมการเก็บรายได้ของระบบทางพิเศษ รวมทั้งตรวจสอบรายได้อื่นๆ นอกจากค่าผ่านทาง


5. สำนักพัฒนาการจัดการ

    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบผสมผสานทั้งองค์กร วิเคราะห์ข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร รวมถึงการดำเนินการเพื่อแปลงสภาพและแปรรูป กทพ.


6. ฝ่ายนโยบายและแผน ประกอบด้วย

6.1 กองวางแผนและวิเคราะห์โครงการ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการวางแผนศึกษา วิเคราะห์ความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและการเงินเพื่อให้ได้ระบบทางพิเศษที่มีประสิทธิภาพ 

    6.2 กองประเมินผล 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการติดตามโครงการที่นำไปปฏิบัติ รวบรวมสถิติ วิเคราะห์และประเมินผลงานในการดำเนินงานของ กทพ. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของ กทพ. เพื่อใช้สำหรับให้บริการช่วยงานด้านบริหาร 

    6.3 กองออกแบบ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ทั้งทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมอาคารต่างๆ และงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมตามอาคารต่างๆ รวมตลอดในเขตทางพิเศษทั้งหมด


7. ฝ่ายสารสนเทศ ประกอบด้วย

7.1 กองระบบงานคอมพิวเตอร์ 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ระบบงานตรวจสอบประเมินผลระบบงานที่ออกแบบ และปรับปรุงระบบงานให้เหมาะสมตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ฝึกอบรมและให้คำแนะนำในการใช้ระบบงานต่างๆ ที่พัฒนาเสร็จแล้วแก่ผู้ใช้ระบบงาน จัดการและบำรุงรักษาฐานข้อมูลรวม การจัดทำแผนงานหลักด้านระบบสารสนเทศ 

    7.2 กองปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ให้บริการประมวลผลข้อมูล ควบคุมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ควบคุมการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จัดทำสำรองข้อมูลทั้งระบบ จัดฝึกอบรมความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ควบคุม ดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตในการให้บริการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร


8. ฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประกอบด้วย

8.1 กองจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อก่อสร้างทางพิเศษ 

    8.2 กองพัฒนาและรักษาเขตทาง 1 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษศรีรัช (ทางพิเศษแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ ช่วงพญาไท-ศรีนครินทร์) และทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางพิเศษสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ กทพ. ในการให้เช่าและใช้พื้นที่ ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับงานดูแลรักษาและป้องกันการบุกรุกเขตทางพิเศษ รวมตลอดถึงทางพิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย 

    8.3 กองพัฒนาและรักษาเขตทาง 2 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางพิเศษสายดินแดง-ท่าเรือ บางนา-ท่าเรือ และดาวคะนอง-ท่าเรือ) ทางพิเศษฉลองรัช (ทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์) และทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ กทพ. ในการให้เช่าและใช้พื้นที่ ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับงานดูแล รักษาและป้องกันการบุกรุกเขตทางพิเศษ รวมตลอดถึงทางพิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย


9. ฝ่ายกฎหมาย ประกอบด้วย

9.1 กองคดี 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการด้านคดีที่ กทพ. เป็นคู่ความหรือผู้เสียหาย การวางทรัพย์ และการระงับข้อพิพาทตามสัญญาต่าง ๆ 

    9.2 กองนิติการ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการด้านสัญญา ด้านนิติการและด้านวินัย รวมทั้งความรับผิดทางละเมิดของพนักงานและลูกจ้าง


10. ฝ่ายก่อสร้างทางพิเศษ ประกอบด้วย

10.1 กองวิศวกรรมทางด่วน 1 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานด้านการออกแบบรายละเอียดและควบคุมงานก่อสร้าง ทั้งทางด้านเทคนิคและสัญญา ตลอดจนประสานงานสาธารณูปโภคและงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และจัดทำทางเข้า-ทางออกในระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างของโครงการ 

    10.2 กองวิศวกรรมทางด่วน 2 
    มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับกองวิศวกรรมทางด่วน 1


11. ฝ่ายบำรุงรักษา ประกอบด้วย

11.1 กองบำรุงรักษาทาง 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการวางแผนตรวจสอบ บำรุงรักษาและซ่อมแซมทางพิเศษ อันรวมถึงสะพานและไหล่ทาง 

    11.2 กองบำรุงรักษาอาคารและความสะอาด 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคาร สถานที่ เรื่องความสะอาด การรักษาความปลอดภัย บำรุงรักษาต้นไม้ และสนามหญ้าในเขตทางพิเศษ บริเวณอาคารต่างๆ และไหล่ทาง 

    11.3 กองบำรุงรักษาอุปกรณ์ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการวางแผนตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในระบบทางพิเศษทั้งหมด ได้แก่ อุปกรณ์เก็บค่าผ่านทาง และอุปกรณ์ควบคุมการจราจร ตลอดจนงานควบคุมดูแลฐานข้อมูลจัดเก็บค่าผ่านทางที่ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฯ 

    11.4 กองไฟฟ้าเครื่องกลและยานพาหนะ 
    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า รวมทั้งเครื่องกลและยานพาหนะ


12. ฝ่ายควบคุมการจราจร ประกอบด้วย

12.1 กองจัดการจราจร 
    มีอำนาจหน้าที่อำนวยการให้ความสะดวกปลอดภัยเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ ตรวจสอบ ควบคุมการใช้ทางพิเศษให้ถูกต้องตามกฎหมาย ควบคุมน้ำหนักรถบรรทุก และประสานงานกับตำรวจทางด่วน และบริษัทที่ร่วมทุนกับ กทพ. รวมทั้งปรับปรุงและแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการให้บริการทางพิเศษ 

    12.2 กองกู้ภัยและสื่อสาร 
    มีอำนาจหน้าที่จัดบริการด้านการกู้ภัยในทางพิเศษ การควบคุมความปลอดภัยในทางพิเศษ ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ทาง บริการลากหรือยกรถเสีย รถเกิดอุบัติเหตุลงจากทางพิเศษ งานด้านการสื่อสารจราจร ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในทางพิเศษ และควบคุมการดำเนินงานสื่อสารของศูนย์ควบคุมระบบทางพิเศษต่างๆ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการให้บริการทางพิเศษ


13. ฝ่ายจัดเก็บค่าผ่านทาง ประกอบด้วย

13.1 กองจัดเก็บค่าผ่านทาง 1 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและควบคุมการจัดเก็บค่าผ่านทาง และดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าผ่านทาง ในทางพิเศษเฉลิมมหานคร รวมทั้งปรับปรุง แก้ไข เพื่อลดผลกระทบกับประชาชน อันเกิดจากการให้บริการทางพิเศษ 

    13.2 กองจัดเก็บค่าผ่านทาง 2 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและควบคุมการจัดเก็บค่าผ่านทาง และดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าผ่านทางในทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา รวมทั้งปรับปรุง แก้ไขเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน อันเกิดจากการให้บริการทางพิเศษ 

    13.3 กองจัดเก็บค่าผ่านทาง 3 
    มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลและควบคุมการจัดเก็บค่าผ่านทางและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าผ่านทางในทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และหมายเลข 9 และทางยกระดับอุตราภิมุข (ช่วงอนุสรณ์สถานถึงรังสิต) เมื่อ กทพ. ได้รับโอนจากกรมทางหลวงตามกฎหมายแล้ว รวมทั้งปรับปรุง แก้ไขเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนอันเกิดจากการให้บริการทางพิเศษ


14. สำนักวางแผนปฏิบัติการ

    มีอำนาจหน้าที่ดำเนินงานด้านศึกษา วิเคราะห์พัฒนา วางแผน และเสนอแนวทางการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของระบบงานทางพิเศษ ได้แก่ ระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบความปลอดภัยและการจราจร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการปฏิบัติงาน ตรวจสอบ รับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนอันเกิดจากระบบทางพิเศษภายหลังเปิดให้บริการ และปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ กทพ. / วิสัยทัศน์และภารกิจ ปี ๒๕๕๘

ทิศทางองค์การ (Direction)

         ทิศทางที่ กทพ. มุ่งจะไปให้ถึง คือ การเป็นทางเลือกในการเดินทางที่มีความคุ้มค่า มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าประสงค์ และค่านิยม ดังนี้

วิสัยทัศน์ของ กทพ. (Vision)

"ทางเลือกที่คุ้มค่า พัฒนาก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"

ภารกิจองค์การ (Mission)

        ๑.) จัดให้มี พัฒนา/ปรับปรุงทางพิเศษให้เป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัย

        ๒.) บริการอย่างมีนวัตกรรมและคุณค่าเพิ่ม

        ๓.) บริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจทางพิเศษและประโยชน์ต่อสังคม

        ๔.) พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าองค์การ

เป้าประสงค์องค์การ (Corporate Goal)

        ๑.) ทางพิเศษและสินทรัพย์ถูกใช้เต็มประสิทธิภาพ

        ๒.) บริการมีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน

        ๓.) ผลประกอบการเติบโตอย่างมั่นคง มีกำไรอย่างเหมาะสม

ค่านิยมของ กทพ. (Value)

"บริการเป็นเลิศ นวัตกรรมก้าวไกล ภาพลักษณ์ใสสะอาด"

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน (Strategic Issues)

ยุทธศาสตร์ที่ ๑         พัฒนาธุรกิจและบริการ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างรายได้และเสริมสร้างคุณภาพการให้บริการรวมทั้งแก้ปัญหาการจราจร
 
ยุทธศาสตร์ที่ ๒    เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา การควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัย และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความสูญเสีย และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ลูกค้า ประชาชนและสังคม