เกี่ยวกับกระทรวง

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

  • ประวัติ
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
  • อำนาจหน้าที่

ประวัติ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

 
   ความเป็นมาของกิจการรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร ตามประวัติกล่าวว่ารถเมล์โดยสารประจำทางในสมัยก่อนเรียก ว่ารถเมล์ เข้าใจว่าคงเรียกชื่อตามเรือเมล์ รถเมล์ประจำทางที่มีครั้งแรกนั้น ใช้กำลังม้าลากจูงแทน ไม่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นภาระเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ เช่นในปัจจุบัน ซึ่งพระยาภักดี นรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) เป็นผู้ริเริ่มกิจการรถเมล์เมื่อราวปี พุทธศักราช 2450 วิ่งจากสะพานยศเส (กษัตริย์ศึก) ถึงประตูน้ำสระปทุม แต่เนื่องจาก ใช้ม้าลากจึงไม่รวดเร็วทันใจ และไม่สามารถให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสารได้เพียงพอ ต่อมาในปี  พุทธศักราช 2456 พระยาภักดีฯ จึงได้ปรับปรุงกิจการใหม่ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินรถ โดยนำรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดมาวิ่งแทนรถเดิม ที่ใช้ม้าลาก และขยายเส้นทางให้ไกลขึ้น จากประตูน้ำสระปทุมถึงบางลำพู(ประตูใหม่ตลาดยอด)


   รถยนต์ที่ใช้ เป็นรถโดยสารประจำทางครั้งแรกมี 3 ล้อ ขนาดเท่ากับ 1 ใน 3 ของรถโดยสารประจำทาง ในปัจจุบัน มีที่นั่ง 2 แถว ทาสีขาว มีกากบาทสีแดง นั่งได้ประมาณ 10 คน คนทั่วไปเรียกว่าอ้ายโกร่ง เพราะวิ่งไปตามถนนมีเสียงดังโกร่งกร่าง ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ในการเดินทางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย รถเมล์จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง ออกไปทั่วกรุงเทพฯ ในนามของบริษัท นายเลิศ จำกัดหรือบริษัทรถเมล์ขาว การประกอบอาชีพการเดินรถ โดยสารประจำทางได้ขยายตัวขึ้น เมื่อรัฐบาลมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี (พุทธศักราช 2475) พร้อมทั้งได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งพระนคร และธนบุรี ต่อมาในปี พุทธศักราช 2476 กิจการรถเมล์เริ่มเป็นปึกแผ่น ได้มีเศรษฐีชาวจีนเล็งเห็นว่า การประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง เป็นอาชีพที่มั่นคง และทำรายได้ดีอย่างหนึ่ง จึงได้ก่อตั้ง บริษัทเดินรถโดยสารประจำทาง ขึ้นชื่อบริษัท ธนนครขนส่ง เดินรถจากตลาดบางลำพู ถึงวงเวียนใหญ่ หลังจากนั้นได้มีผู้ลงทุน ตั้งบริษัทรถโดยสารประจำทาง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจและราชการ ก็ทำการเดินรถด้วย คือ เทศบาลนครกรุงเทพฯ เทศบาลนนทบุรี บริษัท ขนส่ง จำกัด องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และบริษัทเอกชนอีก 24 บริษัท รวมผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกรุงเทพฯ ขณะนั้นมีถึง 28 ราย


   หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการได้ขายรถบรรทุกให้เอกชน เป็นจำนวนมาก ซึ่งเอกชนได้นำรถบรรทุก มาดัดแปลงเป็นรถ โดยสารประจำทาง มีการเลือกเส้นทางเดินรถเอง โดยไม่ให้ซ้ำกับ เส้นทางที่มีรถรางวิ่งอย่างเสรี จึงก่อให้เกิดการแข่งขันกันขึ้น รัฐบาลจึงได้ออก พระราชบัญญัติ การขนส่ง ในปีพุทธศักราช 2497 มาควบคุม โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรถ โดยสารประจำทาง ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและ ในระยะหลังๆ การให้บริการรถเมล์ชักจะเกิดความสับสน มีการเดินรถทับเส้นทางกันบ้าง แก่งแย่งผู้โดยสารกันบ้าง การให้บริการของแต่ละ บริษัทก็ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปล่อยให้มีการเดินรถอย่างเสรี ทำให้เกิดปัญหา ความคับคั่งของ การจราจร เนื่องจากจำนวนรถ ในท้องถนนมีมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งผลเสียทั้งหมดตกอยู่กับ ผู้ใช้บริการทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ ได้ประสบปัญหา ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมัน ในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างฉับพลัน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2516 เป็นต้นมา แต่ผู้ประกอบการ ไม่สามารถจะปรับอัตราค่าโดยสาร ให้เพิ่มขึ้นในอัตราสมดุลกับราคาน้ำมันได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นผลให้ หลายบริษัทเริ่มประสบกับปัญหา การขาดทุน บางบริษัทก็มีฐานะทรุดลงจนไม่สามารถ จะรักษาระดับบริการที่ดี แก่ประชาชนต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการรวมรถ โดยสารประจำทางต่างๆ ให้เหลือเพียงหน่วยงานเดียว


   ครั้นในเดือนกันยายน 2518 ในสมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติของคณะรัฐมนตรี ให้รวมรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร เป็นบริษัทเดียว เรียกว่า "บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด เป็นรูปรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัท จำกัด มีรัฐถือหุ้นอยู่ 51% และเอกชนถือหุ้น 49% แต่การรวมและการจัดตั้งเป็นบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ในขณะนั้นมีปัญหาบางประการ ในเรื่องของกฎหมายการ จัดตั้งในรูปแบบ ของการประกอบกิจการขนส่ง ดังนั้น ต่อมาในสมัยรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งเป็นองค์การขอรัฐให้ชื่อว่า "องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 โดยรวมกิจการรถโดยสารทั้งหมด จากบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด มาขึ้นอยู่กับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ


   ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจ และขอบเขตความรับผิดชอบ ในการจัดบริการ รถโดยสารประจำทางวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสาร ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และนครปฐม มีผู้ใช้บริการ ประมาณกว่า 3 ล้านคนต่อวัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ ในด้านประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับ การประกอบการขนส่งบุคคล เนื่องจากกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง จัดเป็นสาธารณูปโภค ชนิดหนึ่งของรัฐที่ให้บริการแก่ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย และปานกลางเป็นหลัก การดำเนินการ จึงมุ่งสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในด้านการให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้มีรายได้น้อย โดยไม่หวังผลกำไร การจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร จึงอยู่ในอัตราต่ำกว่าต้นทุน ตามที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายการให้บริการของ ขสมก. มุ่งในด้านความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินรถของผู้โดยสารเป็นหลัก

วิสัยทัศน์

ผู้นำการให้บริการรถโดยสารประจำทาง "

พันธกิจ

บริการรถโดยสารประจำทางที่มีคุณภาพแบบมืออาชีพ  โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม "

ค่านิยมขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

1.รักองค์การ
2.พัฒนาร่วมกัน
3.คุณธรรมนำหน้า
4.สร้างสรรค์บริการเพื่อสังคม

ความหมายของค่านิยมหลักขององค์การ

1.รักองค์กร หมายถึง พนักงานทำงานอย่างทุ่มเท รับผิดชอบ ร่วมแก้ไขปัญหา มีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของรักษาภาพลักษณ์และภูมิใจในความสำเร็จของ องค์กร
2.พัฒนาร่วมกัน หมายถึง จิตสำนึกของความร่วมมือ ร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวของพนักงานทุกคน เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
3.คุณธรรมนำหน้า หมายถึง การปฏิบัติตนต่อองค์กร และผู้เกี่ยวข้องดัวยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ โปร่งใส มีศีลธรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นคนดี ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของตนและพวกพ้อง
4.สร้างสรรค์บริการเพื่อสังคม หมายถึง การพัฒนารูปแบบการบริการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

อำนาจหน้าที่

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจัดตั้งเป็นองค์การของรัฐตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจ และขอบเขตความรับผิดชอบในการจัดบริการรถโดยสารประจำทางวิ่ง รับ-ส่ง ผู้โดยสาร ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในด้านประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับ การประกอบการขนส่งบุคคล เนื่องจากกิจการเดินรถโดยสารประจำทาง จัดเป็นสาธารณูปโภคชนิดหนึ่งของรัฐที่ให้บริการแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และปานกลางเป็นหลัก การดำเนินการจึงมุ่งสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในด้านการให้ความช่วย เหลือ แก่ผู้มีรายได้น้อยโดยไม่หวังผลกำไร

1. ด้านบริหาร

     มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารบุคคล งานบัญชีและการเงิน งานด้านกฎหมาย งานจัดซื้อและบริการภายใน และประสานงานกับด้านต่างๆ โดยมีรองผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

    1.1 ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล งานด้านทะเบียนประวัติ งานสวัสดิการและการแพทย์ งานแรงงานสัมพันธ์ งานด้านวิจัย โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายการเจ้าหน้าที่ขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        1.1.1 กองบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล งานทะเบียนประวัติ งานแรงงานสัมพันธ์ งานวิจัย ควบคุมดูแลงานอัตรากำลัง โดยมีหัวหน้ากองบุคคลขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายการเจ้าหน้าที่ด้านบุคคล โดยมีหัวหน้าส่วนระบบบริหารงานบุคคลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบุคคลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           1.1.1.1 ส่วนระบบบริหารงานบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการบริหารงานบุคคล ควบคุมอัตรากำลังพนักงาน กำหนดมาตรฐานในการคัดเลือก จัดทำสถิติวิเคราะห์และประเมินข้อมูลด้วนบุคคล โดยมีหัวหน้าส่วนระบบบริหารงานบุคคลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบุคคลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

          1.1.1.2 ส่วนข้อมูลบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการและควบคุมทะเบียนประวัติ และจัดทำทะเบียนควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงาน งานเงินเดือนและค่าจ้างของพนักงาน จัดทำเบียนควบคุมประวัติประจำตัวและบัตรแสดงตัวพนักงาน จัดทำทะเบียนควบคุมการเกษียณอายุพนักงาน การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีหัวหน้าส่วนข้อมูลบุคคลการเกษียณอายุพนักงานกองบุคลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

          1.1.1.3 ส่วนแรงงานสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา และระหว่างพนักงานกับพนักงาน เสนอแนะการปฏิบัติทางกฎหมายด้านแรงงาน ประมวลปัญหาด้านแรงงานและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา สอดส่องดูแลการชุมนุมเรียกร้องด้านแรงงาน เตรียมการเพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับสมาคมพนักงานฯ และกระทรวงแรงงาน งานคณะกรรมการกิจกรรมสัมพันธ์ งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยมีหัวหน้าส่วนแรงงานสัมพันธ์ขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบุคคลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           1.1.1.4 ส่วนวินัย มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์และร้องทุกข์ของพนักงาน การดำเนินการด้านวินัย การตรวจสอบสำนวนการสอบสวนทางวินัยการลงโทษโดยมีหัวหน้าส่วนวินัยขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบุคคลเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.1.2 กองพัฒนาระบบสวัสดิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการ พัฒนาระบบสวัสดิการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน พัฒนาด้านจิตใจของพนักงานดูแลสุขภาพและอนามัยของพนักงาน โดยมีหัวหน้ากองพัฒนาระบบสวัสดิการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายการเจ้าหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

           1.1.2.1 ส่วนสวัสดิการปฏิบัติการ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ งานเงินทดแทน งานบำเหน็จและเงินตอบแทนความชอบในการทำงานงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีหัวหน้าส่วนสวัสดิการขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองพัฒนาระบบสวัสดิการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

          1.1.2.2 ส่วนพัฒนาสวัสดิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะนโยบายสวัสดิการให้เหมาะสม วางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจของพนักงาน ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาด้านจิตใจของระบบสวัสดิการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

          1.1.2.3 ส่วนงานแพทย์ มีหน้าที่เกี่ยวกับควบคุมและจัดหาทะเบียน ระวัติและบัตรคุมผู้ป่วย ทำการตรวจและให้การรักษาพยาบาล ควบคุมการดำเนินงานของสถานพยาบาลเขต งานจัดซื้อยา โดยมีหัวหน้าส่วนงานแพทย์ขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองพัฒนาสวัสดิการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

       1.1.3 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อ ผู้อำนวยการฝ่ายการเจ้าหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

    1.2 ฝ่ายบัญชีและการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางระบบบัญชีทุกประเภท ควบคุมดูแลและประสานงานด้านบัญชีการเงินขององค์การ ตรวจสอบหลักฐานการเบิกจ่ายเงินทุกประเภทขององค์การ วิเคราะห์สถานะทางการเงิน การบริหารเงินสด วางแผนการจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน นำเงินเข้าและเบิกเงินจากธนาคาร โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

       1.2.1 กองบัญชี มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีทุกประเภท จัดทำรายงานสถานะทางการเงิน วางระบบบัญชี โดยมีหัวหน้ากองบัญชีขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

          1.2.1.1 ส่วนประมวลบัญชีและทรัพย์สิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายได้-รายจ่ายทั่วไป จัดทำงบดุลและบัญชีกำไร-ขาดทุน จัดทำบัญชีทรัพย์สินถาวร การติดตามทวงถามการชำระหนี้ วางระบบบัญชีและการประสานงานทางด้านการบัญชีกับเขตการเดินรถ โดยมีหัวหน้าส่วนประมวลบัญชีและทรัพย์สินขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบัญชีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

          1.2.1.2 ส่วนตรวจจ่าย มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน การจ่ายเงินทุกประเภท โดยมีหัวหน้าส่วนตรวจจ่ายขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบัญชีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.2.2 กองการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน นำเงินเข้าและเบิกเงินจากธนาคาร วิเคราะห์สถานภาพทางการเงิน บริหารเงินสด บริหารหนี้ โดยมีหัวหน้ากองการเงินขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการผ่านบัญชีและการเงินเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

           1.2.2.1 ส่วนบริหารการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ สถานภาพทางการเงิน การบริหารเงินสด การบริหารหนี้ การโอนเงินระหว่างธนาคาร การจัดทำงบประมาณการรับจ่าย โดยมีหัวหน้าส่วนบริหารการเงินขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองการเงิน เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           1.2.2.2 ส่วนรับจ่าย มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน การนำเงินเข้าและเบิกเงินจากธนาคาร สรุปการตั้งเบิกเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีประสานงานกับเขตในการนำเงินเหรียญแลกที่กรมธนารักษ์ จัดสรรโอนเงินให้เขต การจัดทำรายงานฐานะการเงินประจำวัน โดยมีหัวหน้าส่วนรับจ่ายขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองการเงินเป็นผู้บังคับและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.2.3 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของฝ่ายบัญชีและการเงิน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานี่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     1.3 ฝ่ายกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวกับงานกฎหมายต่างๆ รวมทั้งการทำนิติกรรมสัญญา การว่าความดำเนินคดีต่างๆ ติดตามหนี้สินและบังคับคดี งานอุบัติเหตุ โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        1.3.1 กองคดี มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการคดีทางแพ่ง และอาญาทางศาล การว่าความแก้ต่างแทนองค์การ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย โดยมีหัวหน้ากองคดีขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

          1.3.1.1 ส่วนคดี มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่งและอาญาทางศาล การว่าความและแก้ต่างแทนองค์การ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายแก่องค์การและพนักงาน โดยมีหัวหน้าส่วนคดีขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติงาน 

           1.3.1.2 ส่วนติดตามหนี้และบังคับคดี มีหน้าที่เกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้สิน เรียกร้องค่าเสียหาย รวบรวมข้อมูลและติดตามบังคับคดีขอยึดหรืออายัดทรัพย์สิน นำยึดทรัพย์ ประสานงานการขายทอดตลาดทรัพย์สิน รับเงินและนำส่งเงินค่าเสียหายให้แก่องค์การ โดยมีหัวหน้าส่วนติดตามหนี้และบังคับคดีขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองคดี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.3.2 กองนิติกรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำนิติกรรมสัญญาและข้อตกลงต่างๆ ประสานงานในการต่ออายุสัญญาหรือเลิกสัญญา โดยมีหัวหน้ากองนิติกรรมขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.3.3 ส่วนอุบัติเหตุ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาและดำเนินการอุบัติเหตุกรณีเกินอำนาจเขตการเดินรถ สำรวจและประเมินผลความเสียหายและเจรจาต่อรองค่าเสียหาย ควบคุมทะเบียนและจัดทำสถิติอุบัติเหตุ ประสานงานด้านอุบัติเหตุ โดยมีหัวหน้าส่วนอุบัติเหตุขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        1.3.4 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของฝ่ายกฎหมาย ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     1.4 ส่วนธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของรองผู้อำนวยการบริหาร ปฏิบัติงานเลขานุการรองผู้อำนวยการบริหาร ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนธุรการขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     1.5 ส่วนบริการและจัดซื้อ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานคลังพัสดุส่วนกลาง บริการและอำนวยความสะดวกในการประชุม ควบคุมการใช้และบำรุงรักษายานพาหนะส่วนกลาง การดูแลรักษาความปลอดภัย ดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานที่ การใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การดูแลรักษาความสะอาด ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง ที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ควบคุมคุณสมบัติเฉพาะ และราคามาตรฐานของพัสดุ โดยมีหัวหน้าส่วนบริการและจัดซื้อขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน

 

2. ด้านปฏิบัติการ 1

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการควบคุมกำกับ ดูแล วางแผน การเดินรถขององค์การ การซ่อมบำรุงรักษารถให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพตามนโยบายและเป้าหมายที่องค์การกำหนด ควบคุมและจัดหารายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ตามประมาณการที่กำหนดไว้ ควบคุมและกำกับดูแลการใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ ประสานงานกับด้านต่างๆ โดยมีรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและมีผู้ช่วยผู้อำนวยการขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 จำนวน 2 อัตรา โดยให้รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 มอบหมายให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเขตการเดินรถ คนละ 4 เขต เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

    2.1 กองบริหาร มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลการเดินรถ งานวิจัยและสถิติรายงาน งานธุรการของรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 โดยมีหัวหน้ากองบริหารขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 โดยมีหัวหน้ากองบริหารขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        2.1.1 ส่วนธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 ปฏิบัติงานเลขานุการของรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนธุรการขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.1.2 ส่วนวิเคราะห์การบริหารการปฏิบัติการเดินรถ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปข้อมูลของการเดินรถ วิเคราะห์ประเมินผลและเสนอแนะแนวทางแก้ไขผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ ประสานงานกับเขตการเดินรถและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การฯ โดยมีหัวหน้าส่วนวิเคราะห์การบริหารการปฏิบัติการเดินรถขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบริหาร เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

    2.2 กองซ่อมบำรุง มีหน้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมรถยนต์โดยสารและรถใช้งาน การพัฒนาสถานที่ต่างๆ โดยมีหัวหน้ากองซ่อมบำรุงขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        2.2.1 ส่วนซ่อมบำรุง มีหน้าที่เกี่ยวกับการ ซ่อมแซมและดัดแปลงคุณภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของรถโดยสารและรถใช้งานของเขตการเดินรถ พัฒนาสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน ซ่อมบำรุง รักษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยมีหัวหน้าส่วนซ่อมบำรุงขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองซ่อมบำรุงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.2.2 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและสารบรรณของหน่วยงาน เก็บรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงทั้งหมด เก็บรักษาและจ่ายอะไหล่ จัดทำทะเบียนการเบิกจ่าย โอนบัญชีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและการใช้อะไหล่ให้กับเขตการเดินรถ โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองซ่อมบำรุงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

    2.3 กองสื่อสาร มีหน้าที่เกี่ยวกับงานรับส่งข่าวสารเพื่อการบริหารและประสานงานข่ายการสื่อสารกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องรับ-ส่งวิทยุและอุปกรณ์สื่อสารขององค์การฯ โดยมีหัวหน้ากองสื่อสารขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

    2.4 เขตการเดินรถ มีจำนวนตามที่คณะกรรมการองค์การกำหนดแต่ไม่เกิน 8 เขต แต่ละเขตการเดินรถมีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการเดินรถขององค์การให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายที่องค์การกำหนด วางแผนและควบคุมการหารายได้ รายจ่ายของเขตการเดินรถ ตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานในเขตการเดินรถ ควบคุมดูแลรักษาเงินค่าโดยสาร ทรัพย์สินขององค์การอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยประหยัดปลอดภัย โดยมีผู้อำนวยการเขตขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        2.4.1 กองบริหารงานเขต มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ คลังพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง งานบริหารงานบุคคล งานทะเบียนประวัติรถองค์การ งานวางแผนการเดินรถ โดยมีหัวหน้ากองบริหารงานเขตขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขต เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

           2.4.1.1 ส่วนบริการเขต มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ คลังพัสดุ เก็บรักษาทรัพย์สินที่ไม่ใช่ตัวเงิน เบิกจ่ายตั๋วและบัตรเดือน พัสดุเครื่องเขียนแบบพิมพ์ งานจัดซื้อจัดจ้าง ควบคุมทะเบียนประวัติและทะเบียนรถองค์การ โดยมีหัวหน้าส่วนบริการเขตขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบริหารงานเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           2.4.1.2 ส่วนบริหารงานบุคคล มีหน้าที่เกี่ยวกับบริหารงานบุคคลของเขตการเดินรถ จัดทำทะเบียนประวัติพนักงาน ควบคุมอัตรากำลัง รับสมัครสอบคัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย จัดอบรม พัฒนาบุคคลากรภายในเขตการเดินรถ งานเงินเดือนและค่าจ้างในเขตการเดินรถ งานด้านวินัย ร้องทุกข์และสวัสดิการ โดยมีหัวหน้าส่วนบริหารงานบุคคลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบริหารงานเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการบริหารงาน 

           2.4.1.3 ส่วนแผนงานเขต มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินการของเขตการเดินรถ ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของเขตการเดินรถ ควบคุมและจัดทำรวมทั้งส่งข้อมูลเอกสารการรายงานข่าวสารเพื่อการบริหาร จัดทำสถิติวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของเขตการเดินรถ เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ โดยมีหัวหน้าส่วนแผนงานเขตขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบริหารงานเขต เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.4.2 กองบัญชีและการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีต่างๆของเขตการเดินรถ การจัดทำงบดุล งบทดลองและงบประมาณของเขตการเดินรถ การรับจ่ายของเขตการเดินรถ การเก็บรักษาเงิน โดยมีหัวหน้ากองบัญชีและการเงินขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

           2.4.2.1 ส่วนบัญชีและงบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี รายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน จัดทำบัญชีกำไร-ขาดทุน จัดทำงบทดลอง งบดุล จัดทำบัญชีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำงบประมาณของเขตการเดินรถ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่ายของเขตการเดินรถโดยมีหัวหน้าส่วนบัญชีและงบประมาณขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบัญชีและการเงินเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           2.4.2.2 ส่วนตรวจสอบ มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่าย ตรวจสอบรายได้ค่าโดยสาร น้ำมัน บัญชีค่าโดยสารทรัพย์สิน หนี้สินต่างๆ โดยมีหัวหน้าส่วนตรวจสอบขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบัญชีและการเงินเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

           2.4.2.3 ส่วนการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน จัดทำบัญชีรับจ่ายเงิน จัดทำรายงานทางการเงิน โดยมีหัวหน้าส่วนการเงินขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองบัญชีและการเงิน เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.4.3 กองเดินรถ แต่ละเขตการเดินรถจะมีกองเดินรถจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการ แต่จะมีได้ไม่เกินเขตละ 3 กอง แต่ละกองมีหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถขององค์การให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายการเดินรถของเขตการเดินรถ การจัดจำนวนรถ เที่ยววิ่ง การใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาเงินค่าโดยสาร เงินอื่นใดที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ตั๋ว น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น ป้องกันและวางมาตรการการรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สินอื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ควบคุมการจัดทำข้อมูลเอกสารรายงานให้เป็นไปตามระบบงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประกันตัวพนักงาน ชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นศาล โดยมีหัวหน้ากองเดินรถขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

           2.4.3.1 สายการเดินรถ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะแผนการเดินรถ กำหนดเป้าหมายการดำเนินการต่างๆ แก้ไขปรับปรุงวิธีการเดินรถของสายการเดินรถที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพ ควบคุมคุณภาพของการบริการ กำหนดแนวทางเพื่อปรับปรุงการให้บริการควบคุมการดำเนินการหารายได้ ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสายการเดินรถที่รับผิดชอบ ควบคุมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นไปตามเป้าหมาย จัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของสายการเดินรถที่รับผิดชอบ โดยมีผู้จัดการสายขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองเดินรถเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยผู้จัดการสายขึ้นตรงต่อผู้จัดการสายเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงาน 

           2.4.3.2 ส่วนธุรการและระบบข้อมูล มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของกองเดินรถ ควบคุมและรับผิดชอบตั๋ว น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น บัญชีค่าโดยสาร ควบคุมและรับผิดชอบการเช็คตั๋ว จัดเก็บรักษาเงินค่าโดยสารของกองเดินรถ จัดทำรายงานข่าวสารเพื่อการบริหาร วิเคราะห์และเสนแนะแนวทางแก้ไขการดำเนินการเกี่ยวกับการเดินรถ โดยมีหัวหน้าส่วนธุรการและระบบข้อมูลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองเดินรถเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.4.4 ส่วนซ่อมบำรุง มีเฉพาะเขตการเดินรถที่ทำการซ่อมรถเอง มีหน้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมและดูแลรักษารถยนต์โดยสารและรถใช้งานให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ ควบคุม เก็บรักษาและจัดทำบัญชีการเบิกจ่ายพัสดุอะไหล่ และอุปกรณ์ต่างๆ จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงรักษารถยนต์โดยสาร โดยมีหัวหน้าส่วนซ่อมบำรุงขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.4.5 ส่วนอุบัติเหตุ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับอุบัติเหตุ สำรวจ ประเมินค่าเสียหาย และเจรจาต่อรองกับคู่กรณี ภายในวงเงินที่ผู้อำนวยการกำหนดติดตาม เร่งรัดหนี้สิน จัดทำทะเบียน สถิติอุบัติเหตุ และออกเอกสารแจ้งซ่อม ดำเนินเกี่ยวกับการประกันตัวพนักงาน โดยมีหัวหน้าส่วนอุบัติเหตุขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        2.4.6 ส่วนตรวจการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจการปฏิบัติงาน ความประพฤติของพนักงาน ตรวจสอบตั๋ว ตรวจสอบการใช้ การเก็บรักษา และการรับน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยตรวจและดูแลการเดินรถให้เป็นไปตามแผนการเดินรถ ดูแลอำนวยความสะดวกในการเดินรถและผู้โดยสาร เสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบ โดยมีหัวหน้าส่วนตรวจการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


3. ด้านปฏิบัติการ 2

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการจัดระบบการเดินรถของรถเอกชนร่วมบริการทุกประเภท การควบคุม ดูแล และติดตามการเดินรถและการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนของรถเอกชนร่วมบริการ ให้เป็นไปตามแผนและเงื่อนไขตามสัญญา โดยมีรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 2 ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยผู้อำนวยการขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติงาน 2 จำนวน 1 อัตรา เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงานและให้รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 2 มอบอำนาจให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

     3.1 ฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดวางแบบการเดินรถเอกชนร่วมบริการ ควบคุม ดูแล ติดตามการเดินรถของรถเอกชนร่วมบริการให้เป็นไปตามสัญญา ติดตามการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนฯให้เป็นไปตามกำหนดของสัญญา ควบคุมและตรวจสอบทะเบียนรถ โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการ ขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 2 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        3.1.1 กองรถเอกชนร่วมบริการ 1 มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดระบบและพัฒนาการเดินรถเอกชนร่วมบริการขนาดใหญ่ รถมินิบัส ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ควบคุม ดูแล ติดตามแลละตรวจสอบการเดินรถของรถเอกชนร่วมบริการขนาดใหญ่ รถมินิบัสให้เป็นไปตามสัญญา ติดตามประสานงานการจ่ายผลตอบแทนและการเข้าร่วมเดินรถของเอกชนร่วมบริการขนาดใหญ่ รถมินิบัส ให้เป็นไปตามกำหนดระยะเวลา จัดทำทะเบียนและเก็บรักษาทะเบียนรถเอกชนร่วมบริการขนาดใหญ่ และรถมินิบัส ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพ การชำระภาษีของรถเอกชนร่วมบริการขนาดใหญ่ รถมินิบัส พิจารณาดำเนินการกรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยมีหัวหน้ากองรถเอกชนร่วมบริการ 1 ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        3.1.2 กองรถเอกชนร่วมบริการ 2 มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดระบบและพัฒนาการเดินรถในซอย ควบคุม ดูแล ติดตามและตรวจสอบการเดินรถในซอย ติดตามประสานงานการจ่ายผลตอบแทนการเดินรถในซอยให้เป็นไปตามกำหนดระยะเวลา จัดทำทะเบียนและเก็บรักษาทะเบียนรถในซอย ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพ การชำระภาษีของรถในซอย พิจารณาดำเนินการกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยมีหัวหน้ากองรถเอกชนร่วมบริการ 2 ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        3.1.3 กองรถเอกชนร่วมบริการ 3 มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดระบบและพัฒนาการเดินรถตู้โดยสารปรับอากาศ ควบคุม ดูแล ติดตามและตรวจสอบการเดินรถตู้โดยสารปรับอากาศ ติดตามประสานงานการจ่ายผลตอบแทนการเดินรถตู้โดยสารปรับอากาศ จัดทำทะเบียนและเก็บรักษาทะเบียนรถตู้โดยสารปรับอากาศ ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพ การชำระภาษีของรถตู้โดยสารปรับอากาศ พิจารณาดำเนินการกรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยมีหัวหน้ากองรถเอกชนร่วมบริการ 3 ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        3.1.4 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานธุรการทุกประเภทของฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการรถเอกชนร่วมบริการ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     3.2 ส่วนธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณและงานเลขานุการของรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 2 โดยมีหัวหน้าส่วนธุรการขึ้นตรงต่อรองผู้อำนวยการปฏิบัติการ 2 เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


4. สำนักผู้อำนวยการ

    มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการองค์การ งานการประชุม คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ งานเลขานุการผู้อำนวยการ ติดต่อประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการ การประชาสัมพันธ์กิจการขององค์การ ตอบข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าสำนักผู้อำนวยการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

    4.1 กองกลาง มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการขององค์การ งานการประชุม คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ งานประชุมต่าง ๆ ของผู้อำนวยการ โดยมีหัวหน้ากองกลางขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        4.1.1 ส่วนธุรการและเลขานุการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการองค์การ งานเลขานุการผู้อำนวยการ ติดต่อประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามสั่งการผู้อำนวยการ โดยมีหัวหน้าส่วนธุรการและเลขานุการขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองกลางเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        4.1.2 ส่วนงานประชุม มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำระเบียบวาระการประชุม การประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ งานการประชุมต่างๆ ของผู้อำนวยการ ประสานงาน การจัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนงานประชุมขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองกลาง เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     4.2 กองประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจการขององค์การทั้งภายในและภายนอก วางแผนการประชาสัมพันธ์ วิเคราะห์ข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        4.2.1 ส่วนประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจการขององค์การทั้งภายในและภายนอก การวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและเชิงรับ วิเคราะห์ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ประสานงานกับสื่อมวลชน ประมวลและเผยแพร่ข่าวสารให้หน่วยงานต่างๆโดยมีหัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองประชาสัมพันธ์เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        4.2.2 ส่วนบริการประชาชนและผู้โดยสารสัมพันธ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการขององค์การ ตอบชี้แจงปัญหาข้อร้องเรียน ชี้แจงแนะนำการให้บริการ โดยมีหัวหน้าส่วนบริการประชาชนและผู้โดยสารสัมพันธ์ขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองประชาสัมพันธ์เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


5. สำนักงานตรวจสอบ

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ด้านงบประมาณ บัญชี พัสดุ การเงิน การเบิกจ่าย การจัดซื้อ พัสดุ ตรวจสอบการใช้และเก็บรักษายานพาหนะและรถโดยสาร ตรวจสอบหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับน้ำมันและตั๋ว ตรวจสอบการเบิกจ่ายและการเก็บรักษาเงิน สืบหาข้อเท็จจริง ประสานงานและติดตามผลที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา โดยมีหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

    5.1 กองตรวจสอบภายใน มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การด้านงบประมาณ บัญชี การเงิน พัสดุ การเบิกจ่าย การจัดซื้อ การใช้และเก็บรักษายานพาหนะและรถโดยสาร น้ำมันและตั๋ว การเก็บรักษาเงิน โดยมีหัวหน้ากองตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     5.2 ส่วนงานพิเศษ มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ สืบหาข้อเท็จจริง ประสานงานและติดตามผลตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา โดยมีหัวหน้าส่วนงานพิเศษขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     5.3 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของสำนักงานตรวจสอบ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


6. สำนักนโยบายและแผน มีหน้าที่เกี่ยวกับงานแผนและโครงการ งานงบประมาณ งานวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน วิจัยและพัฒนารูปแบบงาน งานประสานงานเดินรถ งานสารสนเทศ โดยมีหัวหน้าสำนักนโยบายและแผนขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้

6.1 กองแผนงาน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะการกำหนดแผนโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์การ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ความเหมาะสมของแผนหรือโครงการ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จัดทำแผนวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบประเมินผล เสนอแนะการกำหนดนโยบายและวางแผนงานเกี่ยวกับการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน วางแผนและประสานงานกับหน่วยงานภายนอก งานงบประมาณ โดยมีหัวหน้ากองแผนงานขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักนโยบายและแผนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        6.1.1 ส่วนแผนและนโยบายภาคเอกชน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะและจัดทำแผนงานโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาองค์การ เสนอแนะการกำหนดนโยบายและวางแผนงาน การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเดินรถ วิเคราะห์ความเหมาะสมของแผนงาน ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนและผลตอบแทนของโครงการ โดยมีหัวหน้าส่วนแผนและนโยบายภาคเอกชนขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองแผนงานเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        6.1.2 ส่วนงานแผนโครงการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติประจำปี จัดทำแผนวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำและวิเคราะห์ต้นทุนมาตรฐาน วางแผนและประสานงานกับหน่วยงานภายนอก โดยมีหัวหน้าส่วนงานแผนโครงการขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองแผนงานเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        6.1.3 ส่วนงานงบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำร่างนโยบายงบประมาณเสนอผู้บริหารองค์การ และกำหนดปฏิทินงบประมาณ จัดทำงบประมาณประจำปีให้แล้วเสร็จตามปฏิทินประจำปี ติดตามและควบคุมงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแนวทางและนโยบายงบประมาณ ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการโอนย้ายงบประมาณประจำปี ตรวจสอบผลกระทบการใช้งบประมาณ เพื่อปรับปรุงและแก้ไข ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนงานงบประมาณขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองแผนงานเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     6.2 กองวิเคราะห์และประเมินผล มีหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานขององค์การ ประมวลผลและจัดทำรายงานข่าวสารเพื่อการบริหาร ควบคุมตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดและควบคุมเงื่อนไขการเดินรถทั้งหมดให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย โดยมีหัวหน้ากองวิเคราะห์และประเมินผลขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักนโยบายและแผนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        6.2.1 ส่วนงานสถิติและประเมินผล มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำสถิติ วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลให้เป็นไปตามเป้าหมาย จัดทำสรุปรายงาน สถานะ ปัญหา อุปสรรค พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข ประมวลและจัดทำรายงานข่าวสารเพื่อการบริหาร ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนงานสถิติและประเมินผลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองวิเคราะห์และประเมินผลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        6.2.2 ส่วนประสานงานเดินรถ มีหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดและควบคุมเงื่อนไขการเดินรถทั้งหมด ทั้งรถองค์การ และรถเอกชนที่เข้าร่วมวิ่งกับองค์การ ให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมาย เสนอและปรับปรุงการเดินรถให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ งานทะเบียนรถส่วนกลาง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนประสานงานเดินรถขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองวิเคราะห์และประเมินผลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     6.3 กองสารสนเทศ มีหน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลระบบข้อมูลด้านสารสนเทศ ติดตามประสานงานด้านข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ศึกษาวิเคราะห์ออกแบบพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ จัดทำและปรับปรุงโปรแกรม รวมถึงการติดตามและทดสอบโปรแกรม บริการ สนับสนุนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีหัวหน้ากองสารสนเทศขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักนโยบายและแผนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน มีหน่วยงานในสังกัดดังนี้ 

        6.3.1 ส่วนพัฒนาระบบ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษาวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ จัดทำและปรับปรุงโปรแกรม ติดตามและทดสอบโปรแกรม บริการสนับสนุนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าส่วนพัฒนาระบบขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองสารสนเทศเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

        6.3.2 ส่วนระบบข้อมูล มีหน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลระบบข้อมูลด้านสารสนเทศ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวบรวมและบันทึกข้อมูลเพื่อการประมวลผล โดยมีหัวหน้าส่วนระบบข้อมูลขึ้นตรงต่อหัวหน้ากองสารสนเทศเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     6.4 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของสำนักนโยบายและแผน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้างานธุรการขึ้นตรงต่อหัวหน้าสำนักนโยบายและแผนเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


7. ศูนย์พัฒนาบุคคลากร

    มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนฝึกอบรม ส่งเสริมและฝึกพัฒนาอาชีพ พัฒนางานในตำแหน่งให้เกิดความชำนาญ ให้บริการฝึกอบรมด้านต่างๆ ทั้งพนักงานองค์การและพนักงานรถเอกชนร่วมบริการ จัดอบรมปฐมนิเทศ ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม งานห้องสมุด งานโรงเรียนฝึกปฏิบัติด้านเดินรถ โดยมีผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคคลากรขึ้นตรงผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     7.1 กองฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานองค์การ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมและดำเนินการฝึกอบรมพนักงานองค์การ ตั้งเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมพนักงานองค์การ การกำหนดหลักสูตรฝึกปฏิบัติงานเดินรถ โดยมีหัวหน้ากองฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานองค์การขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคคลากรเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 

     7.2 กองฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานรถเอกชนร่วมบริการ มีหน้าที่เกี่ยวกับจัดทำแผนกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมและดำเนินการฝึกอบรมพนักงานรถเอกชนร่วมบริการ ตั้งเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมพนักงานรถเอกชนร่วมบริการ โดยมีหัวหน้ากองฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานรถเอกชนร่วมบริการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาบุคคลากรเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน